เขียนโดยยอห์น 1:1-51

1  ใน​ตอน​เริ่ม​ต้น มี​ผู้​หนึ่ง​ที่​ถูก​เรียก​ว่า​โฆษก*+ โฆษก​ผู้​นี้​อยู่​กับ​พระเจ้า+และ​ท่าน​เป็น​พระเจ้า​องค์​หนึ่ง+  ท่าน​ผู้​นี้​อยู่​กับ​พระเจ้า​ใน​ตอน​เริ่ม​ต้น+  พระเจ้า​ใช้​ท่าน​ให้​สร้าง​ทุก​สิ่ง+ ไม่​มี​อะไร​เลย​ที่​เกิด​ขึ้น​โดย​ที่​พระเจ้า​ไม่​ได้​ให้​ท่าน​สร้าง สิ่ง​หนึ่ง​ที่​เกิด​ขึ้น  โดย​ทาง​ท่าน​คือ​ชีวิต และ​ชีวิต​เป็น​ความ​สว่าง​ของ​มนุษย์+  ความ​สว่าง​นั้น​ส่อง​เข้า​ไป​ใน​ความ​มืด+ แต่​ความ​มืด​เอา​ชนะ​ความ​สว่าง​ไม่​ได้  มี​ผู้​ชาย​คน​หนึ่ง​ที่​พระเจ้า​ใช้​ให้​เป็น​ตัว​แทน​ของ​พระองค์ เขา​ชื่อ​ยอห์น+  เขา​เป็น​พยาน​ที่​ให้​หลักฐาน​ยืน​ยัน​เรื่อง​ความ​สว่าง​นั้น+ เพื่อ​คน​ทุก​ชนิด​จะ​ได้​เชื่อ​เพราะ​สิ่ง​ที่​เขา​บอก  ตัว​ยอห์น​เอง​ไม่​ใช่​ความ​สว่าง​นั้น+ แต่​เขา​มา​เพื่อ​ให้​หลักฐาน​ยืน​ยัน​เรื่อง​ความ​สว่าง+  ตอน​นั้น ความ​สว่าง​แท้​ที่​ส่อง​สว่าง​ให้​คน​ทุก​ชนิด​กำลัง​จะ​เข้า​มา​ใน​โลก+ 10  ท่าน​ผู้​นั้น​เคย​อยู่​ใน​โลก+ พระเจ้า​ใช้​ท่าน​ให้​สร้าง​โลก+ แต่​โลก​กลับ​ไม่​รู้​จัก*ท่าน 11  ท่าน​มา​ที่​บ้าน​เมือง​ของ​ท่าน แต่​คน​ร่วม​ชาติ​ไม่​ต้อนรับ+ 12  ส่วน​ใคร​ที่​ต้อนรับ ท่าน​ก็​ให้​พวก​เขา​มี​โอกาส​ได้​เป็น​ลูก​ของ​พระเจ้า+ เพราะ​พวก​เขา​แสดง​ความ​เชื่อ​ศรัทธา​ใน​ชื่อ​ของ​ท่าน+ 13  คน​กลุ่ม​นี้​จึง​ไม่​ได้​เกิด​จาก​พ่อ​แม่​ที่​เป็น​มนุษย์ หรือ​จาก​ความ​ต้องการ​ของ​มนุษย์ แต่​เกิด​จาก​พระเจ้า+ 14  ดัง​นั้น โฆษก​ผู้​นี้​จึง​มา​เกิด​เป็น​มนุษย์+และ​อยู่​กับ​พวก​เรา พวก​เรา​ได้​เห็น​ความ​สง่า​งาม​ของ​ท่าน ซึ่ง​เป็น​ความ​สง่า​งาม​แบบ​ที่​ลูก​คน​เดียว+ได้​รับ​จาก​พ่อ ท่าน​เป็น​ผู้​ที่​พระเจ้า​พอ​ใจ​มาก​และ​ท่าน​สอน​ความ​จริง+ 15  (ยอห์น​ยืน​ยัน​เรื่อง​ของ​ท่าน ยอห์น​คน​นี้​แหละ​ที่​ป่าว​ประกาศ​ว่า “ท่าน​ผู้​นี้​ก็​คือ​คน​ที่​ผม​เคย​บอก​ว่า ‘ท่าน​ที่​มา​ที​หลัง​ผม​เป็น​คน​ที่​ยิ่ง​ใหญ่​กว่า​ผม เพราะ​ท่าน​มี​ชีวิต​อยู่​ก่อน​ผม​อีก’”)+ 16  ท่าน​มี​ความ​กรุณา​ที่​ยิ่ง​ใหญ่ พวก​เรา​ทุก​คน​จึง​ได้​รับ​ความ​กรุณา​จาก​ท่าน​อย่าง​ล้น​เหลือ 17  พระเจ้า​ให้​กฎหมาย​ผ่าน​ทาง​โมเสส+ แต่​ให้​ความ​กรุณา​ที่​ยิ่ง​ใหญ่+และ​ความ​จริง​ผ่าน​ทาง​พระ​เยซู​คริสต์+ 18  ไม่​มี​ใคร​เคย​เห็น​พระเจ้า​เลย+ แต่​พระ​เยซู​เป็น​ผู้​ที่​ทำ​ให้​พวก​เรา​ได้​มา​รู้​จัก​พระองค์+ ท่าน​เป็น​ลูก​คน​เดียว​ของ​พระเจ้า+ซึ่ง​มี​ลักษณะ​เหมือน​พระองค์ และ​อยู่​เคียง​ข้าง​พระเจ้า​ผู้​เป็น​พ่อ+ 19  เมื่อ​คน​ยิว​ส่ง​พวก​ปุโรหิต​และ​พวก​คน​เลวี​จาก​กรุง​เยรูซาเล็ม​มา​ถาม​ยอห์น​ว่า “คุณ​เป็น​ใคร?”+ 20  เขา​ไม่​ได้​ปิด​บัง​ความ​จริง แต่​ตอบ​อย่าง​ตรง​ไป​ตรง​มา​ว่า “ผม​ไม่​ใช่​พระ​คริสต์”+ 21  พวก​นั้น​จึง​ถาม​อีก​ว่า “ถ้า​อย่าง​นั้น​คุณ​เป็น​ใคร? เป็น​เอลียาห์​ไหม?”+ เขา​ตอบ​ว่า “ไม่​ใช่”+ “หรือ​ว่า​เป็น​ผู้​พยากรณ์​ที่​พระ​คัมภีร์​บอก​ไว้?”+ เขา​ตอบ​ว่า “ไม่​ใช่” 22  พวก​นั้น​จึง​ถาม​ว่า “แล้ว​คุณ​เป็น​ใคร​กัน​แน่? บอก​มา​สิ พวก​เรา​จะ​ได้​กลับ​ไป​ตอบ​คน​ที่​ส่ง​เรา​มา​ได้ คุณ​จะ​ให้​พวก​เรา​บอก​ว่า​คุณ​เป็น​ใคร?” 23  ยอห์น​บอก​ว่า “ผม​คือ​คน​ที่​ส่ง​เสียง​ร้อง​อยู่​ใน​ที่​กันดาร​ว่า ‘ให้​ทำ​ทาง​ของ​พระ​ยะโฮวา​ให้​ตรง’+ เหมือน​ที่​ผู้​พยากรณ์​อิสยาห์​บอก​ไว้”+ 24  คน​พวก​นี้​เป็น​คน​ที่​พวก​ฟาริสี​ส่ง​มา 25  พวก​เขา​จึง​ถาม​ยอห์น​อีก​ว่า “แล้ว​ทำไม​คุณ​ถึง​ให้​บัพติศมา​ใน​เมื่อ​คุณ​ไม่​ใช่​พระ​คริสต์​หรือ​เอลียาห์ แล้ว​ก็​ไม่​ใช่​ผู้​พยากรณ์​คน​นั้น​ด้วย?” 26  ยอห์น​ตอบ​พวก​เขา​ว่า “ผม​ให้​บัพติศมา​ด้วย​น้ำ แต่​มี​คน​หนึ่ง​อยู่​กับ​พวก​คุณ​ซึ่ง​เป็น​คน​ที่​พวก​คุณ​ไม่​รู้​จัก 27  เขา​จะ​มา​ที​หลัง​ผม ผม​เอง​ไม่​สม​ควร​จะ​แก้​สาย​รัด​รอง​เท้า​ให้​เขา​ด้วย​ซ้ำ”+ 28  เรื่อง​ทั้ง​หมด​นี้​เกิด​ขึ้น​ที่​เบธานี​ซึ่ง​อยู่​อีก​ฝั่ง​หนึ่ง​ของ​แม่น้ำ​จอร์แดน ยอห์น​ให้​บัพติศมา​ผู้​คน​อยู่​ที่​นั่น+ 29  วัน​ต่อ​มา ยอห์น​เห็น​พระ​เยซู​มา​หา เขา​จึง​พูด​ว่า “คน​นี้​ไง ลูก​แกะ+ของ​พระเจ้า​ที่​จะ​รับ​บาป+ของ​โลก​ไป+ 30  คน​นี้​แหละ​ที่​ผม​พูด​ไว้​ว่า ‘คน​หนึ่ง​จะ​มา​ที​หลัง​ผม​ซึ่ง​เป็น​คน​ที่​ยิ่ง​ใหญ่​กว่า​ผม เพราะ​ท่าน​มี​ชีวิต​อยู่​ก่อน​ผม​อีก’+ 31  เมื่อ​ก่อน​นี้​ผม​เอง​ก็​ไม่​รู้​จัก​ท่าน แต่​ที่​ผม​ให้​บัพติศมา​ด้วย​น้ำ​ก็​เพื่อ​แนะ​นำ​ตัว​ท่าน​ให้​คน​อิสราเอล​รู้​จัก”+ 32  ยอห์น​ยัง​ยืน​ยัน​ด้วย​ว่า “ผม​ได้​เห็น​พลัง​ของ​พระเจ้า​รูป​ร่าง​เหมือน​นก​เขา​ลง​มา​จาก​ฟ้า​และ​อยู่​กับ​ท่าน+ 33  ตอน​แรก​ผม​เอง​ก็​ไม่​รู้​จัก​ท่าน แต่​พระเจ้า​ที่​ใช้​ผม​มา​ให้​บัพติศมา​ด้วย​น้ำ​ได้​บอก​ผม​ว่า ‘เมื่อ​เจ้า​เห็น​พลัง​ของ​เรา​ลง​มา​อยู่​กับ​ใคร+ คน​นั้น​แหละ​ที่​จะ​ให้​บัพติศมา​ด้วย​พลัง​บริสุทธิ์​ของ​เรา’+ 34  ผม​เห็น​เรื่อง​นี้​เกิด​ขึ้น​กับ​ตา ผม​จึง​ยืน​ยัน​ได้​ว่า​ท่าน​เป็น​ลูก​ของ​พระเจ้า”+ 35  วัน​ถัด​มา ยอห์น​มา​ยืน​อยู่​ที่​เดิม​และ​มี​สาวก 2 คน​อยู่​ด้วย 36  เมื่อ​เห็น​พระ​เยซู​เดิน​ผ่าน​มา ยอห์น​ก็​พูด​ว่า “นั่น​ไง ลูก​แกะ+ของ​พระเจ้า” 37  พอ​สาวก​ทั้ง​สอง​คน​ได้​ยิน​อย่าง​นั้น ก็​ตาม​พระ​เยซู​ไป 38  พระ​เยซู​หัน​มา​เห็น​พวก​เขา​จึง​ถาม​ว่า “มี​อะไร​หรือ?” พวก​เขา​บอก​ว่า “รับบี* (แปล​ว่า “อาจารย์”) ท่าน​พัก​อยู่​ที่​ไหน​ครับ?” 39  พระ​เยซู​บอก​พวก​เขา​ว่า “ตาม​มา​ดู​สิ” พวก​เขา​ก็​ตาม​ท่าน​ไป​ถึง​ที่​พัก​และ​อยู่​กับ​ท่าน​จน​หมด​วัน ตอน​นั้น​เป็น​เวลา​ประมาณ 4 โมง​เย็น 40  หนึ่ง​ใน​สอง​คน​นั้น​ที่​ได้​ยิน​ยอห์น​พูด​แล้ว​ตาม​พระ​เยซู​ไป​คือ อันดรูว์+ที่​เป็น​พี่​น้อง​กับ​ซีโมน​เปโตร 41  สิ่ง​แรก​ที่​อันดรูว์​ทำ​ก็​คือ ไป​หา​ซีโมน​พี่​น้อง​ของ​เขา​และ​บอก​ว่า “พวก​เรา​พบ​เมสสิยาห์​แล้ว”+ (ซึ่ง​แปล​ว่า “คริสต์”)+ 42  แล้ว​อันดรูว์​ก็​พา​ซีโมน​ไป​หา​พระ​เยซู ท่าน​มอง​ซีโมน​และ​พูด​ว่า “คุณ​คือ​ซีโมน+ลูก​ของ​ยอห์น คุณ​จะ​มี​อีก​ชื่อ​หนึ่ง​ว่า​เคฟาส” (แปล​เป็น​ภาษา​กรีก​ว่า​เปโตร)+ 43  วัน​ต่อ​มา พระ​เยซู​ตั้งใจ​จะ​ไป​แคว้น​กาลิลี ท่าน​เจอ​ฟีลิป+และ​พูด​กับ​เขา​ว่า “ตาม​ผม​มา​สิ” 44  ฟีลิป​มา​จาก​เมือง​เบธไซดา​เหมือน​อันดรูว์​กับ​เปโตร 45  ฟีลิป​เจอ​นาธานาเอล+และ​บอก​เขา​ว่า “พวก​เรา​พบ​คน​นั้น​ที่​บอก​ไว้​ใน​กฎหมาย​ของ​โมเสส​และ​หนังสือ​ของ​พวก​ผู้​พยากรณ์​แล้ว+ เขา​คือ​เยซู​ลูก​ของ​โยเซฟ+ซึ่ง​มา​จาก​เมือง​นาซาเร็ธ” 46  แต่​นาธานาเอล​บอก​เขา​ว่า “จะ​มี​อะไร​ดี ๆ มา​จาก​นาซาเร็ธ​ได้​หรือ?”+ ฟีลิป​ตอบ​เขา​ว่า “มา​ดู​เอง​สิ” 47  เมื่อ​พระ​เยซู​เห็น​นาธานาเอล​กำลัง​เดิน​เข้า​มา​หา ก็​พูด​ถึง​เขา​ว่า “นี่​ไง คน​อิสราเอล​แท้ ๆ ที่​ไม่​มี​เล่ห์​เหลี่ยม​อะไร”+ 48  นาธานาเอล​ถาม​พระ​เยซู​ว่า “ท่าน​รู้​จัก​ผม​ได้​ยัง​ไง?” ท่าน​ตอบ​เขา​ว่า “ผม​เห็น​คุณ​ตั้ง​แต่​ตอน​ที่​คุณ​อยู่​ใต้​ต้น​มะเดื่อ​แล้ว ก่อน​ที่​ฟีลิป​จะ​เรียก​คุณ​ด้วย​ซ้ำ” 49  นาธานาเอล​บอก​ท่าน​ว่า “อาจารย์ ท่าน​เป็น​ลูก​ของ​พระเจ้า และ​เป็น​กษัตริย์​ของ​อิสราเอล”+ 50  พระ​เยซู​บอก​เขา​ว่า “คุณ​เชื่อ​เพราะ​ผม​บอก​ว่า ผม​เห็น​คุณ​อยู่​ใต้​ต้น​มะเดื่อ​หรือ? คุณ​จะ​ได้​เห็น​สิ่ง​ที่​ยิ่ง​ใหญ่​กว่า​นี้​อีก” 51  ท่าน​บอก​เขา​อีก​ว่า “ผม​จะ​บอก​ให้​รู้​ว่า พวก​คุณ​จะ​เห็น​ฟ้า​สวรรค์​เปิด​ออก​และ​เห็น​ทูต​ของ​พระเจ้า​ขึ้น ๆ ลง ๆ เพื่อ​มา​หา ‘ลูก​มนุษย์’”+

เชิงอรรถ

หรือ “คำ​พูด”
หรือ “ไม่​ยอม​รับ”
เป็น​ตำแหน่ง​ที่​มี​เกียรติ​ของ​ครู​สอน​ศาสนา​ยิว

ข้อมูลสำหรับศึกษา

ยอห์น: สำเนา​พระ​คัมภีร์​เก่าแก่​บาง​ฉบับ​บอก​ว่า​พ่อ​ของ​อัครสาวก​เปโตร​ชื่อ​ยอห์น ส่วน​สำเนา​พระ​คัมภีร์​เก่าแก่​อื่น​ ๆ ​บอก​ว่า​เขา​ชื่อ​โยนา ใน มธ 16:17 พระ​เยซู​เรียก​เปโตร​ว่า “ซีโมน​ลูก​โยนาห์” (ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ มธ 16:17) ผู้​เชี่ยวชาญ​บาง​คน​บอก​ว่า​ชื่อ​ยอห์น​กับ​โยนา(ห์) ซึ่ง​เป็น​ชื่อ​กรีก​อาจ​มา​จาก​ชื่อ​ฮีบรู​เดียว​กัน​แต่​สะกด​ต่าง​กัน

ยอห์น: สำเนา​พระ​คัมภีร์​เก่าแก่​บาง​ฉบับ​บอก​ว่า​พ่อ​ของ​อัครสาวก​เปโตร​ชื่อ​ยอห์น ส่วน​สำเนา​พระ​คัมภีร์​เก่าแก่​อื่น​ ๆ ​บอก​ว่า​เขา​ชื่อ​โยนา ใน มธ 16:17 พระ​เยซู​เรียก​เปโตร​ว่า “ซีโมน​ลูก​โยนาห์” (ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ มธ 16:17) ผู้​เชี่ยวชาญ​บาง​คน​บอก​ว่า​ชื่อ​ยอห์น​กับ​โยนา(ห์) ซึ่ง​เป็น​ชื่อ​กรีก​อาจ​มา​จาก​ชื่อ​ฮีบรู​เดียว​กัน​แต่​สะกด​ต่าง​กัน

ยอห์น: คือ​ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา ใน​ต้น​ฉบับ​ภาษา​กรีก ผู้​เขียน​หนังสือ​ข่าว​ดี​เล่ม​นี้​ซึ่ง​ก็​คือ​อัครสาวก​ยอห์น​พูด​ถึง​ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา 19 ครั้ง แต่​ไม่​เคย​ใช้​คำ​ว่า “ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา” เหมือน​ที่​ผู้​เขียน​หนังสือ​ข่าว​ดี​คน​อื่น​ ๆ ​ใช้ (ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ มธ 3:1; มก 1:4) เมื่อ​พูด​ถึง​มารีย์ อัครสาวก​ยอห์น​ก็​แยก​ให้​เห็น​ว่า​มี​มารีย์ 3 คน (ยน 11:1, 2; 19:25; 20:1) แต่​เมื่อ​พูด​ถึง​ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา อัครสาวก​ยอห์น​ไม่​ต้อง​แยก​ให้​เห็น​ความ​แตกต่าง​แบบ​นั้น​เพราะ​เขา​ไม่​เคย​พูด​ชื่อ​ตัว​เอง​ใน​หนังสือ​ของ​เขา​เลย ทำ​ให้​ไม่​มี​ใคร​สับสน​ว่า​เขา​กำลัง​พูด​ถึง​ยอห์น​คน​ไหน นี่​เป็น​อีก​หลักฐาน​หนึ่ง​ที่​ยืน​ยัน​ว่า​อัครสาวก​ยอห์น​เป็น​คน​เขียน​หนังสือ​ข่าว​ดี​เล่ม​นี้—ดู “บท​นำ​ของ​หนังสือ​ยอห์น” และ​ข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่​ชื่อ​หนังสือ​ยอห์น

สาวก​คน​หนึ่ง​ที่​พระ​เยซู​รัก: คือ​สาวก​ที่​พระ​เยซู​รัก​เป็น​พิเศษ นี่​เป็น​ครั้ง​แรก​ใน​ทั้ง​หมด 5 ครั้ง​ที่​พระ​คัมภีร์​พูด​ถึง​สาวก​คน​นี้ ซึ่ง​ครั้ง​อื่น​ก็​พูด​ถึง​เขา​ว่า “สาวก​ที่​ท่าน [หรือ “พระ​เยซู”] รัก” “สาวก​คน​ที่​พระ​เยซู​รัก” หรือ “สาวก​คน​นั้น​ที่​พระ​เยซู​รัก” (ยน 19:26; 20:2; 21:7, 20) เชื่อ​กัน​ว่า​สาวก​คน​นี้​คือ​อัครสาวก​ยอห์น​ลูก​ของ​เศเบดี และ​เป็น​พี่​น้อง​กับ​ยากอบ (มธ 4:21; มก 1:19; ลก 5:10) เหตุ​ผล​หนึ่ง​ที่​เชื่อ​อย่าง​นั้น​คือ อัครสาวก​ยอห์น​ไม่​เคย​พูด​ถึง​ชื่อ​ตัว​เอง​ใน​หนังสือ​ข่าว​ดี​ที่​เขา​เขียน และ​ที่ ยน 21:2 เขา​เรียก​ตัว​เอง​ว่า “ลูก​ของ​เศเบดี” อีก​เหตุ​ผล​หนึ่ง​อยู่​ที่ ยน 21:20-24 ซึ่ง​ใน​ข้อ​นั้น​พูด​ถึง “สาวก​คน​ที่​พระ​เยซู​รัก” ว่า​เป็น​คน​เขียน​หนังสือ​ข่าว​ดี​เล่ม​นี้ นอก​จาก​นั้น พระ​เยซู​ยัง​พูด​ถึง​อัครสาวก​คน​นั้น​ว่า “ถ้า​ผม​อยาก​ให้​เขา​อยู่​จน​ถึง​ตอน​ที่​ผม​มา นั่น​ก็​ไม่​เกี่ยว​กับ​คุณ” ข้อ​นี้​ทำ​ให้​รู้​ว่า​อัครสาวก​คน​นั้น​จะ​อายุ​ยืน​กว่า​เปโตร​และ​อัครสาวก​คน​อื่น​ ๆ ซึ่ง​จะ​เป็น​ใคร​ไป​ไม่​ได้​นอก​จาก​อัครสาวก​ยอห์น—ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่​ชื่อ​หนังสือ​ยอห์น และ ยน 1:6; 21:20

ยอห์น: ตรง​กับ​ชื่อ​ภาษา​ฮีบรู​เยโฮฮานัน หรือ​โยฮานัน ซึ่ง​หมาย​ความ​ว่า “พระ​ยะโฮวา​แสดง​ความ​โปรดปราน, พระ​ยะโฮวา​กรุณา” ผู้​เขียน​หนังสือ​ข่าว​ดี​นี้​ไม่​ได้​บอก​ว่า​เขา​ชื่อ​อะไร แต่​พอ​ถึง​ศตวรรษ​ที่ 2 หรือ 3 คน​ทั่ว​ไป​ก็​เชื่อ​กัน​ว่า​อัครสาวก​ยอห์น​เป็น​ผู้​เขียน ทุก​ครั้ง​ที่​มี​การ​พูด​ถึง​ชื่อ​ยอห์น​ใน​หนังสือ​ข่าว​ดี​นี้​ก็​จะ​หมาย​ถึง​ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา ยก​เว้น​สอง​ที่​คือ​ใน ยน 1:42 และ 21:15-17 ซึ่ง​พระ​เยซู​พูด​ถึง​ยอห์น​ที่​เป็น​พ่อ​ของ​เปโตร (ดู​ข้อ​มูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ 1:42 และ 21:15) ถึง​แม้​ไม่​มี​การ​พูด​ถึง​ชื่อ​ของ​อัครสาวก​ยอห์น แต่​มี​การ​พูด​ถึง​เขา​และ​ยากอบ​พี่​น้อง​ของ​เขา​ว่า​เป็น ‘ลูก​ของ​เศเบดี’ (ยน 21:2; มธ 4:21; มก 1:19; ลก 5:10; ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ยน 1:6) ใน​ตอน​ท้าย​ ๆ ​ของ​หนังสือ​ข่าว​ดี​นี้ ผู้​เขียน​พูด​ถึง​ตัว​เอง​ว่า​เป็น “สาวก​คน​ที่​พระ​เยซู​รัก” (ยน 21:20-24) และ​มี​เหตุ​ผล​หลาย​อย่าง​ที่​จะ​สรุป​ว่า​คำ​พูด​นี้​หมาย​ถึง​อัครสาวก​ยอห์น—ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ยน 13:23

ข่าว​ดี​ที่​เขียน​โดย​ยอห์น: ไม่​มี​ผู้​เขียน​คน​ไหน​บอก​ว่า​ตัว​เขา​เป็น​คน​เขียน​และ​ดู​เหมือน​ว่า​ไม่​มี​ชื่อ​หนังสือ​อยู่​ใน​ข้อ​ความ​ต้น​ฉบับ ใน​บาง​สำเนา​ของ​หนังสือ​ข่าว​ดี​ของ​ยอห์น​ใช้​ชื่อ​หนังสือ​ว่า อืออางเกะลิออน คา​ธา อิโออานเนน (“ข่าว​ดี [หรือ “กิตติคุณ”] ที่​เขียน​โดย​ยอห์น”) แต่​ใน​บาง​สำเนา​ก็​ใช้​ชื่อ​แบบ​สั้น​ว่า คา​ธา อิโออานเนน (“เขียน​โดย​ยอห์น”) ไม่​มี​ใคร​รู้​ชัดเจน​ว่า​ชื่อ​หนังสือ​ถูก​เพิ่ม​เข้า​มา​เมื่อ​ไร​หรือ​เริ่ม​ใช้​ตอน​ไหน บาง​คน​คิด​ว่า​น่า​จะ​ประมาณ​ศตวรรษ​ที่ 2 เพราะ​มี​การ​พบ​ชื่อ​หนังสือ​แบบ​ยาว​ใน​สำเนา​ของ​หนังสือ​ข่าว​ดี​ที่​ทำ​ขึ้น​ช่วง​ปลาย​ศตวรรษ​ที่ 2 หรือ​ต้น​ศตวรรษ​ที่ 3 นัก​วิชาการ​บาง​คน​บอก​ว่า การ​ที่​หนังสือ​เหล่า​นั้น​ถูก​เรียก​ว่า​กิตติคุณ (แปล​ตรง​ตัว​ว่า “ข่าว​ดี”) อาจ​เป็น​เพราะ​มี​คำ​นี้​อยู่​ใน​ข้อ​ความ​แรก​ของ​หนังสือ​มาระโก (“ต่อ​ไป​นี้​คือ​ตอน​เริ่ม​ต้น​ของ​ข่าว​ดี​เกี่ยว​กับ​พระ​เยซู​คริสต์ ผู้​เป็น​ลูก​ของ​พระเจ้า”) นอก​จาก​นั้น อาจ​มี​การ​ใช้​ชื่อ​หนังสือ​ที่​ระบุ​ชื่อ​คน​เขียน​ด้วย​เหตุ​ผล​ที่​ดี​บาง​อย่าง เช่น ทำ​ให้​รู้​ชัด​ว่า​ใคร​เป็น​คน​เขียน

ก่อน​แล้ว: หรือ “แต่​แรก” ไม่​ได้​หมาย​ถึง​ก่อน​ที่​ยูดาส​เกิด หรือ​ก่อน​ที่​เขา​จะ​ถูก​เลือก​ให้​เป็น​อัครสาวก เพราะ​พระ​เยซู​เลือก​เขา​หลัง​จาก​ที่​ท่าน​อธิษฐาน​ตลอด​ทั้ง​คืน (ลก 6:12-16) แต่​หมาย​ถึง ตั้ง​แต่​แรก​ที่​ยูดาส​เริ่ม​คิด​ชั่ว​พระ​เยซู​ก็​ดู​ออก​ทันที (ยน 2:24, 25; วว 1:1; 2:23; ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ยน 6:70; 13:11) นี่​แสดง​ว่า​การ​ทรยศ​ของ​เขา​เกิด​จาก​การ​ไตร่ตรอง​และ​วาง​แผน​ไว้​ก่อน เขา​ไม่​ได้​เปลี่ยน​ไป​อย่าง​กะทันหัน คำ​ว่า “ก่อน​แล้ว” (คำ​กรีก อาร์เฆ) ใน​พระ​คัมภีร์​คริสเตียน​ภาค​ภาษา​กรีก​มี​หลาย​ความ​หมาย​ขึ้น​อยู่​กับ​ท้อง​เรื่อง เช่น 2​ปต 3:4 แปล​คำ​นี้​ว่า “ตอน​เริ่ม​ต้น” ซึ่ง​หมาย​ถึง​ตอน​ที่​พระเจ้า​เริ่ม​สร้าง​สิ่ง​ต่าง​ ๆ แต่​ส่วน​ใหญ่​แล้ว​คำ​นี้​จะ​มี​ความ​หมาย​ที่​เจาะจง เช่น เปโตร​บอก​ว่า​คน​ต่าง​ชาติ​ได้​รับ​พลัง​บริสุทธิ์ “เหมือน​ที่​พวก​เรา​ได้​รับ​ตอน​แรก​นั้น” (กจ 11:15) ใน​ข้อ​นี้​เปโตร​ไม่​ได้​หมาย​ถึง​ตอน​ที่​เขา​เกิด​หรือ​ตอน​ที่​เขา​ได้​รับ​เลือก​เป็น​อัครสาวก แต่​หมาย​ถึง​วัน​เพ็นเทคอสต์​ปี ค.ศ. 33 ซึ่ง​เป็น “ตอน​แรก” ที่​พระเจ้า​ให้​พลัง​บริสุทธิ์​กับ​สาวก​ของ​พระ​เยซู​เพื่อ​จุด​ประสงค์​พิเศษ​บาง​อย่าง (กจ 2:1-4) ตัว​อย่าง​อื่น​ ๆ ​ที่​แสดง​ว่า​คำ​กรีก​นี้​มัก​จะ​แปล​ตาม​ท้อง​เรื่อง​มี​อยู่​ที่ ลก 1:2; ยน 15:27; และ 1​ยน 2:7

พระ: หรือ “คน​ที่​เป็น​เหมือน​พระ” พระ​เยซู​ยก​ข้อ​ความ​นี้​มา​จาก สด 82:6 ซึ่ง​ใน​ข้อ​นั้น​คำ​ฮีบรู เอโลฮิม (พระ) ใช้​เพื่อ​หมาย​ถึง​มนุษย์ ซึ่ง​ก็​คือ​ผู้​พิพากษา​ใน​อิสราเอล พวก​เขา​เป็น “พระ” ใน​ความ​หมาย​ที่​ว่า​พวก​เขา​เป็น​ตัว​แทน​และ​ผู้​ที่​พูด​แทน​พระเจ้า พระ​คัมภีร์​ก็​เคย​บอก​ว่า​โมเสส​เป็น “พระเจ้า” สำหรับ​อาโรน​และ​ฟาโรห์—อพย 4:16, เชิงอรรถ; 7:1, เชิงอรรถ

ตอน​เริ่ม​ต้น: ความ​หมาย​ของ​คำ​ว่า “ตอน​เริ่ม​ต้น” ใน​พระ​คัมภีร์​ขึ้น​อยู่​กับ​ท้อง​เรื่อง ใน​ข้อ​นี้​คำ​กรีก อาร์เฆ ไม่​ได้​หมาย​ถึง “ตอน​เริ่ม​ต้น” ของ​พระเจ้า​ซึ่ง​เป็น​ผู้​สร้าง​เพราะ​พระองค์​ไม่​มี​จุด​เริ่ม​ต้น​และ​ไม่​มี​จุด​สิ้น​สุด (สด 90:2) ดัง​นั้น คำ​นี้​จึง​ต้อง​หมาย​ถึง​ตอน​ที่​พระเจ้า​เริ่ม​สร้าง​สิ่ง​ต่าง​ ๆ สิ่ง​แรก​ที่​พระเจ้า​สร้าง​คือ​โฆษก​ซึ่ง​เป็น​ชื่อ​เรียก​พระ​เยซู​ตอน​ที่​ท่าน​อยู่​ใน​สวรรค์ (ยน 1:14-17) จึง​เหมาะ​ที่​จะ​เรียก​พระ​เยซู​ว่า “ผู้​แรก​ที่​ถูก​สร้าง​ก่อน​ทุก​สิ่ง” (คส 1:15) เนื่อง​จาก​พระ​เยซู​เป็น “ผู้​แรก​ที่​พระเจ้า​สร้าง” (วว 3:14) ท่าน​จึง​มี​ชีวิต​ก่อน​ทูตสวรรค์​องค์​อื่น​ ๆ ​และ​ก่อน​ที่​จะ​มี​การ​สร้าง​เอกภพ ที่​จริง “พระเจ้า​ใช้​ท่าน​สร้าง​สิ่ง​อื่น​ ๆ ​ทั้ง​หมด​บน​สวรรค์​และ​บน​โลก”—คส 1:16; สำหรับ​ตัว​อย่าง​อื่น​ ๆ ​ของ​การ​ใช้​คำ​ว่า “ตอน​เริ่ม​ต้น” ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ยน 6:64

โฆษก: หรือ “ลอกอส” คำ​กรีก ฮอ ลอกอส ใน​ข้อ​นี้​เป็น​ตำแหน่ง​เหมือน​กับ​ใน ยน 1:14 และ วว 19:13 ยอห์น​บอก​ให้​รู้​ว่า​ตำแหน่ง​นี้​เป็น​ของ​พระ​เยซู คัมภีร์​ไบเบิล​ใช้​ตำแหน่ง​นี้​กับ​พระ​เยซู​ทั้ง​ตอน​ที่​ท่าน​เป็น​ทูตสวรรค์​ก่อน​จะ​มา​เป็น​มนุษย์​บน​โลก ตอน​ที่​เป็น​มนุษย์​สมบูรณ์​แบบ​เพื่อ​ทำ​งาน​รับใช้​บน​โลก และ​ตอน​ที่​ท่าน​กลับ​ไป​สวรรค์ พระ​เยซู​เป็น​โฆษก​หรือ​กระบอก​เสียง​ของ​พระเจ้า​เพราะ​ท่าน​ถ่ายทอด​ข่าวสาร​และ​คำ​สั่ง​ของ​พระองค์​ให้​กับ​ทูตสวรรค์​องค์​อื่น​ ๆ ​รวม​ทั้ง​มนุษย์​ด้วย ดัง​นั้น มี​เหตุ​ผล​ที่​จะ​เชื่อ​ว่า​ก่อน​พระ​เยซู​มา​บน​โลก พระ​ยะโฮวา​เคย​ติด​ต่อ​สื่อสาร​กับ​มนุษย์​หลาย​ครั้ง​ผ่าน​ทาง​โฆษก​ผู้​นี้​ตอน​ที่​ท่าน​เป็น​ทูตสวรรค์—ปฐก 16:7-11; 22:11; 31:11; อพย 3:2-5; วนฉ 2:1-4; 6:11, 12; 13:3

กับ: คำ​กรีก พะรอส ที่​ใช้​ใน​ข้อ​นี้​เป็น​คำ​บุพบท​ที่​แสดง​ถึง​ความ​ใกล้​ชิด​สนิทสนม และ​คำ​นี้​ยัง​ช่วย​ให้​เห็น​ว่า​กำลัง​พูด​ถึง 2 บุคคล ซึ่ง​ใน​ข้อ​นี้​คือ​พระ​เยซู​ที่​เป็น​โฆษก​และ​พระเจ้า​เที่ยง​แท้​องค์​เดียว

ท่าน​เป็น​พระเจ้า​องค์​หนึ่ง: หรือ “มี​ลักษณะ​อย่าง​พระเจ้า [หรือ “เป็น​อย่าง​พระเจ้า”]” ยอห์น​กำลัง​อธิบาย​บุคลิก​ลักษณะ​ของ “โฆษก” (คำ​กรีก ฮอ ลอกอส ดู​ข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​คำ​ว่า​โฆษก​ใน​ข้อ​นี้) ซึ่ง​ก็​คือ​พระ​เยซู​คริสต์ เหตุ​ผล​หนึ่ง​ที่​มี​การ​พูด​ถึง​พระ​เยซู​ว่า​เป็น “พระเจ้า​องค์​หนึ่ง” หรือ “มี​ลักษณะ​อย่าง​พระเจ้า” ก็​เพราะ​ท่าน​มี​ตำแหน่ง​สูง​กว่า​ทูตสวรรค์​องค์​อื่น​ ๆ ท่าน​เป็น​ลูก​คน​แรก​ของ​พระเจ้า​ที่​พระองค์​ใช้​ให้​สร้าง​ทุก​สิ่ง ผู้​แปล​หลาย​คน​มัก​จะ​แปล​ว่า “พระ​วาทะ (โฆษก) เป็น​พระเจ้า” ซึ่ง​ทำ​ให้​พระ​เยซู​เท่า​เทียม​กับ​พระเจ้า​ผู้​มี​พลัง​อำนาจ​สูง​สุด แต่​มี​เหตุ​ผล​หนักแน่น​หลาย​อย่าง​ที่​ทำ​ให้​เชื่อ​ว่า​ยอห์น​ไม่​ได้​บอก​ว่า “โฆษก” นี้​เป็น​บุคคล​เดียว​กัน​กับ​พระเจ้า​ผู้​มี​พลัง​อำนาจ​สูง​สุด เช่น ข้อ​ความ​ทั้ง​ข้าง​หน้า​และ​ข้าง​หลัง​ของ​ประโยค “ท่าน​เป็น​พระเจ้า​องค์​หนึ่ง” บอก​ชัด​ว่า “โฆษก” ผู้​นี้​อยู่ “กับ ​พระเจ้า” นอก​จาก​นั้น ใน ยน 1:1, 2 ใช้​คำ​กรีก เธะออส รวม 3 ครั้ง ซึ่ง​ใน​ครั้ง​ที่ 1 และ 3 คำ​ว่า เธะออส มี​คำนำ​หน้า​นาม​ที่​เฉพาะ​เจาะจง แต่​ครั้ง​ที่ 2 ไม่​มี​คำนำ​หน้า​นาม ผู้​เชี่ยวชาญ​หลาย​คน​เห็น​ตรง​กัน​ว่า​การ​ไม่​มี​คำนำ​หน้า​นาม​ที่​เฉพาะ​เจาะจง​เป็น​จุด​ที่​น่า​สังเกต เมื่อ​มี​คำนำ​หน้า​นาม​ที่​เฉพาะ​เจาะจง เธะออส จะ​หมาย​ถึง​พระเจ้า​ผู้​มี​พลัง​อำนาจ​สูง​สุด แต่​ถ้า​ไม่​มี เธะออส จะ​กลาย​เป็น​คำ​ที่​อธิบาย​ลักษณะ​ของ “โฆษก” ดัง​นั้น คัมภีร์​ไบเบิล​หลาย​ฉบับ​ใน​ภาษา​อังกฤษ ฝรั่งเศส และ​เยอรมัน จึง​แปล​ข้อ​นี้​คล้าย​ ๆ ​กับ​ฉบับ​แปล​โลก​ใหม่​โดย​ถ่ายทอด​แนว​คิด​ที่​ว่า “โฆษก (พระ​วาทะ) เป็น​พระเจ้า​องค์​หนึ่ง หรือ​มี​ลักษณะ​แบบ​พระเจ้า” ฉบับ​แปล​เก่าแก่​ภาษา​ซาฮิดิก​กับ​ภาษา​โบ​ไฮ​ริก​ซึ่ง​อยู่​ใน​กลุ่ม​ภาษา​คอปติก​ที่​อาจ​ทำ​ขึ้น​ใน​ช่วง​ศตวรรษ​ที่ 3 และ 4 ก็​สนับสนุน​ความ​เห็น​นี้ ฉบับ​แปล​เหล่า​นี้​แปล​คำ​ว่า เธะออส ที่​ปรากฏ​ครั้ง​แรก​ใน ยน 1:1 ต่าง​จาก​ครั้ง​ที่ 2 ใน​ข้อ​เดียว​กัน การ​แปล​แบบ​นี้​ทำ​ให้​เห็น​ชัด​ว่า “โฆษก” มี​บุคลิก​ลักษณะ​คล้าย​กับ​พระเจ้า แต่​ไม่​เท่า​เทียม​กับ​พระเจ้า​ผู้​มี​พลัง​อำนาจ​สูง​สุด​ซึ่ง​เป็น​พ่อ​ของ​ท่าน ทำ​ให้​ข้อ​นี้​สอดคล้อง​กับ คส 2:9 ที่​บอก​ว่า​พระ​คริสต์ “แสดง​คุณลักษณะ​ของ​พระเจ้า​ได้​อย่าง​ครบ​ถ้วน” และ 2​ปต 1:4 บอก​ว่า แม้​แต่​คน​ที่​ร่วม​ปกครอง​กับ​พระ​คริสต์​ก็​จะ “ได้​รับ​สภาพ​อย่าง​พระเจ้า” นอก​จาก​นั้น ใน​ฉบับ​เซปตัวจินต์ คำ​กรีก เธะออส มัก​จะ​แปล​จาก​คำ​ว่า เอล และ เอโลฮิม ใน​ภาษา​ฮีบรู ซึ่ง​มี​ความ​หมาย​ว่า “พระเจ้า” และ​ทั้ง​สอง​คำ​มี​ความ​หมาย​พื้น​ฐาน​ว่า “ผู้​มี​พลัง​อำนาจ” หรือ “ผู้​มี​กำลัง​มาก” สอง​คำ​นี้​เป็น​คำ​ที่​ใช้​กับ​พระเจ้า​องค์​สูง​สุด กับ​พระ​อื่น​ ๆ หรือ​กับ​มนุษย์​ทั่ว​ไป​ก็​ได้ (ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ยน 10:34) การ​เรียก​โฆษก​ว่า “พระเจ้า​องค์​หนึ่ง” หรือ “ผู้​มี​พลัง​อำนาจ” ก็​สอดคล้อง​กับ​คำ​พยากรณ์​ใน อสย 9:6 ที่​บอก​ล่วง​หน้า​ว่า​เมสสิยาห์​จะ​ถูก​เรียก​ว่า “พระเจ้า​ผู้​มี​พลัง​อำนาจ” (ไม่​ใช่ “พระเจ้า​ผู้​มี​พลัง​อำนาจ​สูง​สุด”) และ​ท่าน​จะ​เป็น “บิดา​ถาวร” ของ​ทุก​คน​ที่​ได้​เป็น​ประชาชน​ใน​รัฐบาล​ของ​ท่าน พ่อ​ของ​ท่าน​ซึ่ง​ก็​คือ “พระ​ยะโฮวา​ผู้​เป็น​จอม​ทัพ” ตั้งใจ​จะ​ทำ​สิ่ง​เหล่า​นี้​ให้​สำเร็จ—อสย 9:7

สิ่ง​หนึ่ง​ที่​เกิด​ขึ้น: ใน​สำเนา​พระ​คัมภีร์​ภาษา​กรีก​ที่​เก่าแก่​ที่​สุด​ไม่​มี​เครื่องหมาย​วรรค​ตอน​ใน​ข้อ 3 และ 4 การ​แบ่ง​วรรค​ตอน​ใน​ฉบับ​แปล​โลก​ใหม่​ทำ​แบบ​เดียว​กับ​ข้อ​ความ​ภาษา​กรีก​ที่​น่า​เชื่อถือ​ของ​เวสต์คอตต์​กับ​ฮอร์ต ของ​สหสมาคม​พระ​คริสตธรรม และ​ของ​เนสต์เล​กับ​อลัน​ด์ ซึ่ง​ส่วน​สุด​ท้าย​ของข้อ 3 เชื่อม​กับข้อ 4 การ​แบ่ง​แบบ​นี้​ทำ​ให้​อ่าน​ได้​ว่า “ไม่​มี​อะไร​เลย​ที่​เกิด​ขึ้น​โดย​ที่​พระเจ้า​ไม่​ได้​ให้​ท่าน​สร้าง สิ่ง​หนึ่ง​ที่​เกิด​ขึ้น​โดย​ทาง​ท่าน​คือ​ชีวิต และ​ชีวิต​เป็น​ความ​สว่าง​ของ​มนุษย์” นี่​ทำ​ให้​เข้าใจ​ว่า​ชีวิต​และ​ความ​สว่าง​เกิด​ขึ้น​ได้​โดย​ทาง​โฆษก (คส 1:15, 16) แต่​คัมภีร์​ไบเบิล​บาง​ฉบับ​ได้​แบ่ง​วรรค​ตอน​ตาม​ความ​เข้าใจ​อีก​แบบ​หนึ่ง​โดย​เชื่อม​ส่วน​ท้าย​ของข้อ 3 กับ​ข้อ​ความ​ก่อน​หน้า​นั้น ทำ​ให้​อ่าน​ได้​ว่า “ไม่​มี​อะไร​เลย​ที่​เกิด​ขึ้น​โดย​ที่​พระเจ้า​ไม่​ได้​ให้​ท่าน​สร้าง​สิ่ง​นั้น โดย​ทาง​ท่าน​คือ​ชีวิต และ​ชีวิต​เป็น​ความ​สว่าง​ของ​มนุษย์” แต่​นัก​วิชาการ​หลาย​คน​สนับสนุน​การ​แปล​แบบ​ฉบับ​แปล​โลก​ใหม่

โฆษก: หรือ “ลอกอส” คำ​กรีก ฮอ ลอกอส ใน​ข้อ​นี้​เป็น​ตำแหน่ง​เหมือน​กับ​ใน ยน 1:14 และ วว 19:13 ยอห์น​บอก​ให้​รู้​ว่า​ตำแหน่ง​นี้​เป็น​ของ​พระ​เยซู คัมภีร์​ไบเบิล​ใช้​ตำแหน่ง​นี้​กับ​พระ​เยซู​ทั้ง​ตอน​ที่​ท่าน​เป็น​ทูตสวรรค์​ก่อน​จะ​มา​เป็น​มนุษย์​บน​โลก ตอน​ที่​เป็น​มนุษย์​สมบูรณ์​แบบ​เพื่อ​ทำ​งาน​รับใช้​บน​โลก และ​ตอน​ที่​ท่าน​กลับ​ไป​สวรรค์ พระ​เยซู​เป็น​โฆษก​หรือ​กระบอก​เสียง​ของ​พระเจ้า​เพราะ​ท่าน​ถ่ายทอด​ข่าวสาร​และ​คำ​สั่ง​ของ​พระองค์​ให้​กับ​ทูตสวรรค์​องค์​อื่น​ ๆ ​รวม​ทั้ง​มนุษย์​ด้วย ดัง​นั้น มี​เหตุ​ผล​ที่​จะ​เชื่อ​ว่า​ก่อน​พระ​เยซู​มา​บน​โลก พระ​ยะโฮวา​เคย​ติด​ต่อ​สื่อสาร​กับ​มนุษย์​หลาย​ครั้ง​ผ่าน​ทาง​โฆษก​ผู้​นี้​ตอน​ที่​ท่าน​เป็น​ทูตสวรรค์—ปฐก 16:7-11; 22:11; 31:11; อพย 3:2-5; วนฉ 2:1-4; 6:11, 12; 13:3

ท่าน: คือ​โฆษก หรือ​ลอกอส—ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ยน 1:1

ชีวิต . . . ความ​สว่าง: มี​การ​พูด​ถึง 2 เรื่อง​นี้​ใน​หนังสือ​ที่​ได้​รับ​การ​ดล​ใจ​ของ​ยอห์น​ตลอด​ทั้ง​เล่ม พระเจ้า​เป็น​บ่อ​เกิด​ของ​ชีวิต และ​โดย​ทาง​พระ​เยซู​ผู้​เป็น​โฆษก​สิ่ง​มี​ชีวิต​อื่น​ ๆ ​ทั้ง​หมด​ก็ “เกิด​ขึ้น” (ยน 1:3) จึง​พูด​ได้​ว่า​ชีวิต​มา​โดย​ทาง​พระ​เยซู​คริสต์ นอก​จาก​นั้น พระ​เยซู​ยัง​เป็น​ชีวิต​ที่​เป็น​ความ​สว่าง​ของ​มนุษย์​เพราะ​โดย​ทาง​ท่าน พระเจ้า​ทำ​ให้​มนุษย์​ที่​ผิด​บาป​และ​ต้อง​ตาย​มี​โอกาส​ได้​ชีวิต​ตลอด​ไป และ ยน 1:9 ก็​เรียก​ท่าน​ว่า “ความ​สว่าง​แท้​ที่​ส่อง​สว่าง​ให้​คน​ทุก​ชนิด” ทุก​คน​ที่​ติด​ตาม​พระ​เยซู​ซึ่ง​เป็น “ความ​สว่าง​ให้​กับ​โลก” จะ​ได้ “รับ​ความ​สว่าง​ที่​นำ​ไป​ถึง​ชีวิต” (ยน 8:12) โฆษก​องค์​นี้​เป็น “ผู้​นำ​คน​สำคัญ​ที่​ให้​ชีวิต” ที่​พระเจ้า​แต่ง​ตั้ง​เพื่อ​ช่วย​ให้​มนุษย์​เห็น​ทาง​ไป​สู่​ชีวิต—กจ 3:15

ยอห์น: ตรง​กับ​ชื่อ​ภาษา​ฮีบรู​เยโฮฮานัน หรือ​โยฮานัน ซึ่ง​หมาย​ความ​ว่า “พระ​ยะโฮวา​แสดง​ความ​โปรดปราน, พระ​ยะโฮวา​กรุณา”

ผู้​ให้​บัพติศมา: หรือ “คน​จุ่ม” คำ​นี้​ดู​เหมือน​เป็น​ฉายา​ของ​ยอห์น​ซึ่ง​บอก​ให้​รู้​ว่า​ลักษณะ​เด่น​ของ​เขา​คือ​การ​ให้​บัพติศมา​ด้วย​การ​จุ่ม​ใน​น้ำ โยเซฟุส ฟลาวิอุส​นัก​ประวัติศาสตร์​ชาว​ยิว​ก็​เคย​เขียน​เกี่ยว​กับ “ยอห์น​ที่​มี​ฉายา​ว่า​ผู้​ให้​บัพติศมา” ด้วย

ผู้​ให้​บัพติศมา: หรือ “คน​จุ่ม” คำ​กรีก บาพทิโศ ใน​ข้อ​นี้​และ​ที่ มก 6:14, 24 อาจ​แปล​ได้​ว่า “คน​ที่​ให้​บัพติศมา” คำ​นี้​เมื่อ​อยู่​ใน​รูป​คำ​นาม​จะ​เป็น​คำ​ว่า บาพทิสเทส ซึ่ง​อยู่​ใน มก 6:25; 8:28 และ​ที่​หนังสือ​มัทธิว​กับ​ลูกา​ด้วย ถึง​แม้ 2 คำ​นี้​จะ​ต่าง​กัน​เล็ก​น้อย​แต่​ก็​มี​ความ​หมาย​เหมือน​กัน จึง​เป็น​เหตุ​ผล​ที่​ใน​ต้น​ฉบับ​ภาษา​กรีก​ที่ มก 6:24, 25 มี​การ​ใช้​ทั้ง​สอง​คำ​สลับ​กัน—ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ มธ 3:1

ยอห์น: ตรง​กับ​ชื่อ​ภาษา​ฮีบรู​เยโฮฮานัน หรือ​โยฮานัน ซึ่ง​หมาย​ความ​ว่า “พระ​ยะโฮวา​แสดง​ความ​โปรดปราน, พระ​ยะโฮวา​กรุณา” ผู้​เขียน​หนังสือ​ข่าว​ดี​นี้​ไม่​ได้​บอก​ว่า​เขา​ชื่อ​อะไร แต่​พอ​ถึง​ศตวรรษ​ที่ 2 หรือ 3 คน​ทั่ว​ไป​ก็​เชื่อ​กัน​ว่า​อัครสาวก​ยอห์น​เป็น​ผู้​เขียน ทุก​ครั้ง​ที่​มี​การ​พูด​ถึง​ชื่อ​ยอห์น​ใน​หนังสือ​ข่าว​ดี​นี้​ก็​จะ​หมาย​ถึง​ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา ยก​เว้น​สอง​ที่​คือ​ใน ยน 1:42 และ 21:15-17 ซึ่ง​พระ​เยซู​พูด​ถึง​ยอห์น​ที่​เป็น​พ่อ​ของ​เปโตร (ดู​ข้อ​มูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ 1:42 และ 21:15) ถึง​แม้​ไม่​มี​การ​พูด​ถึง​ชื่อ​ของ​อัครสาวก​ยอห์น แต่​มี​การ​พูด​ถึง​เขา​และ​ยากอบ​พี่​น้อง​ของ​เขา​ว่า​เป็น ‘ลูก​ของ​เศเบดี’ (ยน 21:2; มธ 4:21; มก 1:19; ลก 5:10; ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ยน 1:6) ใน​ตอน​ท้าย​ ๆ ​ของ​หนังสือ​ข่าว​ดี​นี้ ผู้​เขียน​พูด​ถึง​ตัว​เอง​ว่า​เป็น “สาวก​คน​ที่​พระ​เยซู​รัก” (ยน 21:20-24) และ​มี​เหตุ​ผล​หลาย​อย่าง​ที่​จะ​สรุป​ว่า​คำ​พูด​นี้​หมาย​ถึง​อัครสาวก​ยอห์น—ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ยน 13:23

พระเจ้า​ใช้​ให้​เป็น​ตัว​แทน​ของ​พระองค์: หรือ “ได้​รับ​มอบหมาย​จาก​พระเจ้า” ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา​ได้​รับ​งาน​มอบหมาย​จาก​พระเจ้า (ลก 3:2) งาน​นี้​เกี่ยว​ข้อง​กับ​การ​ประกาศ​และ​บอก​ข่าว​กับ​ผู้​คน ยอห์น​ไม่​ได้​แค่​ประกาศ​ว่า​เมสสิยาห์​จะ​มา​และ​ประกาศ​เรื่อง​รัฐบาล​ของ​พระเจ้า​ให้​กับ​คน​ยิว​ที่​มา​หา​เขา​เท่า​นั้น แต่​เขา​ยัง​กระตุ้น​ให้​คน​กลับ​ใจ​จาก​บาป​ด้วย (มธ 3:1-3, 11, 12; มก 1:1-4; ลก 3:7-9) ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา​เป็น​ผู้​พยากรณ์ เป็น​ครู (ที่​สอน​สาวก) และ​เป็น​ผู้​ประกาศ​ข่าว​ดี—ลก 1:76, 77; 3:18; 11:1; ยน 1:35

ยอห์น: คือ​ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา ใน​ต้น​ฉบับ​ภาษา​กรีก ผู้​เขียน​หนังสือ​ข่าว​ดี​เล่ม​นี้​ซึ่ง​ก็​คือ​อัครสาวก​ยอห์น​พูด​ถึง​ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา 19 ครั้ง แต่​ไม่​เคย​ใช้​คำ​ว่า “ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา” เหมือน​ที่​ผู้​เขียน​หนังสือ​ข่าว​ดี​คน​อื่น​ ๆ ​ใช้ (ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ มธ 3:1; มก 1:4) เมื่อ​พูด​ถึง​มารีย์ อัครสาวก​ยอห์น​ก็​แยก​ให้​เห็น​ว่า​มี​มารีย์ 3 คน (ยน 11:1, 2; 19:25; 20:1) แต่​เมื่อ​พูด​ถึง​ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา อัครสาวก​ยอห์น​ไม่​ต้อง​แยก​ให้​เห็น​ความ​แตกต่าง​แบบ​นั้น​เพราะ​เขา​ไม่​เคย​พูด​ชื่อ​ตัว​เอง​ใน​หนังสือ​ของ​เขา​เลย ทำ​ให้​ไม่​มี​ใคร​สับสน​ว่า​เขา​กำลัง​พูด​ถึง​ยอห์น​คน​ไหน นี่​เป็น​อีก​หลักฐาน​หนึ่ง​ที่​ยืน​ยัน​ว่า​อัครสาวก​ยอห์น​เป็น​คน​เขียน​หนังสือ​ข่าว​ดี​เล่ม​นี้—ดู “บท​นำ​ของ​หนังสือ​ยอห์น” และ​ข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่​ชื่อ​หนังสือ​ยอห์น

เป็น​พยาน: เมื่อ​เทียบ​กับ​หนังสือ​ข่าว​ดี​เล่ม​อื่น​ ๆ ​รวม​กัน ยอห์น​ใช้​คำ​กรีก​ที่​แปล​ว่า “พยาน” (มาร์ทูเรีย) มาก​กว่า 2 เท่า และ​เขา​ยัง​ใช้​คำ​กริยา​กรีก​ที่​เกี่ยว​ข้อง​กัน​ซึ่ง​แปล​ว่า​ให้​หลักฐาน​ยืน​ยัน (มาร์ทูเระโอ) ถึง 39 ครั้ง ใน​ขณะ​ที่​หนังสือ​ข่าว​ดี​อีก 3 เล่ม​ใช้​แค่ 2 ครั้ง (มธ 23:31; ลก 4:22) มี​การ​ใช้​คำ​กริยา​กรีก​นี้​กับ​ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา​บ่อย​ครั้ง​จน​ทำ​ให้​บาง​คน​คิด​ว่า​น่า​จะ​เรียก​เขา​ว่า “ยอห์น​ผู้​เป็น​พยาน” (ยน 1:8, 15, 32, 34; 3:26; 5:33) หนังสือ​ข่าว​ดี​ของ​ยอห์น​ยัง​ใช้​คำ​กริยา​กรีก​นี้​บ่อย​ ๆ ​ด้วย​เมื่อ​พูด​ถึง​งาน​รับใช้​ของ​พระ​เยซู​โดย​มัก​จะ​บอก​ว่า​ท่าน “เป็น​พยาน” (ยน 8:14, 17, 18) คำ​พูด​ที่​พระ​เยซู​พูด​กับ​ปอนทิอัส​ปีลาต​ก็​เน้น​เรื่อง​นี้​อย่าง​ชัดเจน ท่าน​บอก​ว่า “เหตุ​ผล​ที่​ผม​เกิด​มา​และ​เข้า​มา​ใน​โลก​ก็​เพื่อ​เป็น​พยาน​ยืน​ยัน​ความ​จริง” (ยน 18:37) ใน​วิวรณ์​ที่​ยอห์น​ได้​รับ มี​การ​เรียก​พระ​เยซู​ว่า “พยาน​ที่​ซื่อ​สัตย์” และ “พยาน​ที่​ซื่อ​สัตย์​และ​พูด​ความ​จริง​เสมอ”—วว 1:5; 3:14

เขา: คือ​ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา—เทียบ​กับ กจ 19:4

โลก: แปล​จาก​คำ​กรีก คอสม็อส ซึ่ง​ใน​ข้อ​นี้​หมาย​ถึง​มนุษย์​ที่​อยู่​บน​โลก ดู​เหมือน​ว่า​ใน​ท้อง​เรื่อง​นี้​คำ​ว่า​เข้า​มา​ใน​โลก​ไม่​ได้​หมาย​ถึง​ตอน​ที่​พระ​เยซู​มา​เกิด​เป็น​มนุษย์ แต่​หมาย​ถึง​ตอน​ที่​ท่าน​รับ​บัพติศมา​และ​เริ่ม​ประกาศ​กับ​มนุษย์ หลัง​จาก​รับ​บัพติศมา​พระ​เยซู​เริ่ม​ทำ​งาน​รับใช้​ที่​พระเจ้า​มอบหมาย​ให้​ท่าน​ทำ ซึ่ง​เป็น​เหมือน​การ​ส่อง​แสง​สว่าง​ให้​กับ​มนุษย์​บน​โลก—เทียบ​กับ ยน 3:17, 19; 6:14; 9:39; 10:36; 11:27; 12:46; 1ยน 4:9

พระเจ้า​ใช้​ท่าน​ให้​สร้าง​โลก: ใน​ข้อ​นี้ คำ​กรีก คอสม็อส (“โลก”) หมาย​ถึง​มนุษย์​ที่​อยู่​บน​โลก​ซึ่ง​สอดคล้อง​กับ​ส่วน​ท้าย​ของ​ข้อ​นี้​ที่​บอก​ว่า​โลก​กลับ​ไม่​รู้​จัก​ท่าน บาง​ครั้ง​มี​การ​ใช้​คำ​กรีก​นี้​ใน​หนังสือ​ทั่ว​ไป​เพื่อ​หมาย​ถึง​เอกภพ​และ​สิ่ง​ต่าง​ ๆ ​ใน​ธรรมชาติ และ​อัครสาวก​เปาโล​ก็​อาจ​ใช้​คำ​ว่า “โลก” ใน​ความ​หมาย​เดียว​กัน​นี้​เมื่อ​พูด​กับ​คน​กรีก (กจ 17:24) แต่​ใน​พระ​คัมภีร์​คริสเตียน​ภาค​ภาษา​กรีก ส่วน​ใหญ่​แล้ว​มัก​ใช้​คำ​นี้​เพื่อ​หมาย​ถึง​มนุษย์​ทุก​คน​ที่​อยู่​บน​โลก​หรือ​ส่วน​ใด​ส่วน​หนึ่ง​ของ​โลก ถึง​แม้​พระ​เยซู​จะ​มี​ส่วน​ใน​การ​สร้าง​ทุก​สิ่ง​ทั้ง​ใน​สวรรค์​และ​โลก แต่​ข้อ​นี้​กำลัง​เน้น​บทบาท​ของ​ท่าน​ใน​การ​สร้าง​มนุษย์—ปฐก 1:26; ยน 1:3; คส 1:15-17

ลูก​มนุษย์: มี​การ​ใช้​คำ​นี้​ประมาณ 80 ครั้ง​ใน​หนังสือ​ข่าว​ดี​ทั้ง 4 เล่ม พระ​เยซู​ใช้​คำ​นี้​เมื่อ​พูด​ถึง​ตัว​ท่าน​เอง ดู​เหมือน​ท่าน​ใช้​คำ​นี้​เพื่อ​เน้น​ว่า​ท่าน​เป็น​มนุษย์​จริง​ ๆ ที่​เกิด​จาก​ผู้​หญิง​และ​มี​ค่า​เท่า​เทียม​กับ​อาดัม ท่าน​จึง​สามารถ​ไถ่​มนุษย์​จาก​บาป​และ​ความ​ตาย​ได้ (รม 5:12, 14, 15) คำ​นี้​ยัง​ทำ​ให้​รู้​ว่า​พระ​เยซู​เป็น​เมสสิยาห์​หรือ​พระ​คริสต์​ด้วย—ดนล 7:13, 14; ดู​ส่วน​อธิบาย​ศัพท์

คน​เดียว: คำ​กรีก มอนอเกะเนส ที่​มัก​จะ​แปล​ว่า “ที่​ได้​รับ​กำเนิด​เพียง​คน​เดียว” มี​ความ​หมาย​ว่า “มี​เพียง​หนึ่ง​เดียว, ไม่​มี​ใคร​เหมือน” คำ​นี้​ใช้​ได้​กับ​ทั้ง​ลูก​ชาย​และ​ลูก​สาว ใน​ท้อง​เรื่อง​นี้​คำ​นี้​หมาย​ถึง​ลูก​คน​เดียว มี​การ​ใช้​คำ​กรีก​นี้​กับ​ลูก​สาว “คน​เดียว” ของ​ไยรอส และ​ลูก​ชาย “คน​เดียว” ของ​ผู้​ชาย​คน​หนึ่ง​ที่​ได้​รับ​การ​รักษา​จาก​พระ​เยซู (ลก 8:41, 42; 9:38) ฉบับ​กรีก​เซปตัวจินต์ ​ใช้​คำ มอนอเกะเนส เมื่อ​พูด​ถึง​ลูก​สาว​ของ​เยฟธาห์​ว่า “เธอ​เป็น​ลูก​คน​เดียว​ของ​เขา นอก​จาก​เธอ​แล้ว​เขา​ไม่​มี​ลูก​ชาย​หรือ​ลูก​สาว​อีก​เลย” (วนฉ 11:34) ใน​หนังสือ​ที่​อัครสาวก​ยอห์น​เขียน เขา​ใช้​คำ มอนอเกะเนส 5 ครั้ง​เมื่อ​พูด​ถึง​พระ​เยซู—สำหรับ​ความ​หมาย​ของ​คำ​นี้​เมื่อ​ใช้​กับ​พระ​เยซู ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ยน 1:14; 3:16

คน​เดียว: คำ​กรีก มอนอเกะเนส ที่​มัก​จะ​แปล​ว่า “ที่​ได้​รับ​กำเนิด​เพียง​คน​เดียว” มี​ความ​หมาย​ว่า “มี​เพียง​หนึ่ง​เดียว, ไม่​มี​ใคร​เหมือน” คำ​นี้​ใช้​ได้​กับ​ทั้ง​ลูก​ชาย​และ​ลูก​สาว ใน​ท้อง​เรื่อง​นี้​คำ​นี้​หมาย​ถึง​ลูก​คน​เดียว มี​การ​ใช้​คำ​กรีก​นี้​กับ​ลูก​ชาย “คน​เดียว” ของ​แม่​ม่าย​ใน​เมือง​นาอิน​และ​ลูก​ชาย “คน​เดียว” ของ​ผู้​ชาย​คน​หนึ่ง​ที่​พระ​เยซู​ไล่​ปีศาจ​ออก​ไป (ลก 7:12; 9:38) ฉบับ​กรีก​เซปตัวจินต์ ​ใช้​คำ มอนอเกะเนส เมื่อ​พูด​ถึง​ลูก​สาว​ของ​เยฟธาห์​ว่า “เธอ​เป็น​ลูก​คน​เดียว​ของ​เขา นอก​จาก​เธอ​แล้ว​เขา​ไม่​มี​ลูก​ชาย​หรือ​ลูก​สาว​อีก​เลย” (วนฉ 11:34) ใน​หนังสือ​ที่​อัครสาวก​ยอห์น​เขียน เขา​ใช้​คำ มอนอเกะเนส 5 ครั้ง​เมื่อ​พูด​ถึง​พระ​เยซู—สำหรับ​ความ​หมาย​ของ​คำ​นี้​เมื่อ​ใช้​กับ​พระ​เยซู ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ยน 1:14; 3:16

คน​เดียว: คำ​กรีก มอนอเกะเนส ที่​มัก​จะ​แปล​ว่า “ที่​ได้​รับ​กำเนิด​เพียง​คน​เดียว” มี​ความ​หมาย​ว่า “มี​เพียง​หนึ่ง​เดียว, ไม่​มี​ใคร​เหมือน” คำ​นี้​ใช้​ได้​กับ​ทั้ง​ลูก​ชาย​และ​ลูก​สาว ใน​ท้อง​เรื่อง​นี้​คำ​นี้​หมาย​ถึง​ลูก​คน​เดียว มี​การ​ใช้​คำ​กรีก​นี้​กับ​ลูก​ชาย “คน​เดียว” ของ​แม่​ม่าย​ใน​เมือง​นาอิน และ​ลูก​สาว “คน​เดียว” ของ​ไยรอส (ลก 7:12; 8:41, 42) ฉบับ​กรีก​เซปตัวจินต์ ​ใช้​คำ มอนอเกะเนส เมื่อ​พูด​ถึง​ลูก​สาว​ของ​เยฟธาห์​ว่า “เธอ​เป็น​ลูก​คน​เดียว​ของ​เขา นอก​จาก​เธอ​แล้ว​เขา​ไม่​มี​ลูก​ชาย​หรือ​ลูก​สาว​อีก​เลย” (วนฉ 11:34) ใน​หนังสือ​ที่​อัครสาวก​ยอห์น​เขียน เขา​ใช้​คำ มอนอเกะเนส 5 ครั้ง​เมื่อ​พูด​ถึง​พระ​เยซู—สำหรับ​ความ​หมาย​ของ​คำ​นี้​เมื่อ​ใช้​กับ​พระ​เยซู ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ยน 1:14; 3:16

มนุษย์: หรือ “เนื้อหนัง” คำ​กรีก ซารค์ส์ ใน​ข้อ​นี้​หมาย​ถึง​สิ่ง​มี​ชีวิต​ที่​มี​เนื้อหนัง ตอน​ที่​พระ​เยซู​มา​เกิด​เป็น​มนุษย์​ท่าน​ไม่​ได้​มี​ร่าง​กาย​สำหรับ​สวรรค์​อีก​ต่อ​ไป และ​ท่าน​ก็​ไม่​ใช่​แค่​แปลง​กาย​เป็น​มนุษย์​เหมือน​ที่​พวก​ทูตสวรรค์​ใน​อดีต​เคย​ทำ (ปฐก 18:1-3; 19:1; ยชว 5:13-15) ดัง​นั้น พระ​เยซู​จึง​สามารถ​เรียก​ตัว​เอง​ว่า “ลูก​มนุษย์”—ยน 1:51; 3:14; ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ มธ 8:20

โฆษก​ผู้​นี้​จึง​มา​เกิด​เป็น​มนุษย์: หรือ “โฆษก​ผู้​นี้​จึง​มา​เป็น​เนื้อหนัง” ตั้ง​แต่​เกิด​จน​ตาย​พระ​เยซู​เป็น​มนุษย์​มา​โดย​ตลอด พระ​เยซู​พูด​ถึง​เหตุ​ผล​ที่​ท่าน​มา​เกิด​เป็น​มนุษย์​ว่า “อาหาร​ที่​ผม​จะ​ให้​เพื่อ​มนุษย์​จะ​ได้​ชีวิต​ก็​คือ​เนื้อ​ของ​ผม​เอง” (ยน 6:51) นอก​จาก​นั้น พระ​เยซู​ต้อง​เป็น​มนุษย์​จริง​ ๆ ​เท่า​นั้น​เพื่อ​จะ​เข้าใจ​ว่า​มนุษย์​ต้อง​เจอ​อะไร ท่าน​จึง​สามารถ​เป็น​มหา​ปุโรหิต​ที่​เห็น​อก​เห็น​ใจ​คน​อื่น​ได้ (ฮบ 4:15) พระ​เยซู​จะ​เป็น​ทั้ง​มนุษย์​และ​ทูตสวรรค์​ใน​เวลา​เดียว​กัน​ไม่​ได้ เพราะ​พระ​คัมภีร์​บอก​ว่า​ท่าน “ถูก​ทำ​ให้​ต่ำ​กว่า​ทูตสวรรค์​เล็ก​น้อย” (ฮบ 2:9; สด 8:4, 5; ดู​ข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​คำ​ว่า​มนุษย์​ใน​ข้อ​นี้) แต่​ไม่​ใช่​ทุก​คน​จะ​เชื่อ​ว่า​พระ​เยซู​เคย​เป็น​มนุษย์​จริง​ ๆ ตัว​อย่าง​เช่น พวก​นอสติก​ที่​เชื่อ​ว่า​ความ​รู้ (คำ​กรีก กะโนซิส) อาจ​ได้​มา​ด้วย​วิธี​ลึกลับ​ได้​รวม​ปรัชญา​กรีก​และ​ศาสตร์​ลี้​ลับ​ของ​ชาว​ตะวัน​ออก​เข้า​กับ​คำ​สอน​ของ​คริสเตียน​ที่​ออก​หาก พวก​เขา​เชื่อ​ว่า​ทุก​สิ่ง​ที่​มี​เนื้อหนัง​และ​จับ​ต้อง​ได้​เป็น​สิ่ง​ชั่ว​ร้าย พวก​เขา​จึง​สอน​ว่า​พระ​เยซู​ไม่​ได้​มา​เกิด​เป็น​มนุษย์ แต่​แค่​มี​ร่าง​กาย​ที่​ดู​เหมือน​มนุษย์​เท่า​นั้น ดู​เหมือน​ว่า​ใน​ช่วง​ปลาย​ศตวรรษ​แรก คำ​สอน​ของ​พวก​นอสติก​เริ่ม​แพร่​หลาย​แล้ว ยอห์น​จึง​บอก​อย่าง​เจาะจง​ว่า “โฆษก​ผู้​นี้​จึง​มา​เกิด​เป็น​มนุษย์” และ​ใน​จดหมาย​ของ​ยอห์น เขา​ก็​เตือน​ให้​ระวัง​คำ​สอน​เท็จ​ที่​ไม่​ยอม​รับ​ว่า​พระ​เยซู “มา​เกิด​เป็น​มนุษย์”—1​ยน 4:2, 3; 2​ยน 7

อยู่: แปล​ตรง​ตัว​ว่า “ตั้ง​เต็นท์” บาง​คน​คิด​ว่า​ประโยค​ที่​ว่า​โฆษก ‘มา​อยู่​หรือ​ตั้ง​เต็นท์​อยู่​กับ​พวก​เรา’ ไม่​ได้​หมาย​ความ​ว่า​พระ​เยซู​มา​เป็น​มนุษย์​จริง​ ๆ ​แต่​แค่​แปลง​ร่าง​มา​เป็น​มนุษย์ แต่​น่า​สังเกต​ว่า​เปโตร​ใช้​คำ​ว่า “เต็นท์” เมื่อ​พูด​ถึง​ร่าง​กาย​เนื้อหนัง​ของ​เขา​ว่า​เป็น​ที่​อยู่​ชั่ว​คราว​เพราะ​เขา​รู้​ว่า​กำลัง​จะ​ตาย​และ​จะ​ฟื้น​ขึ้น​มา​ใน​ร่าง​กาย​สำหรับ​สวรรค์ (2​ปต 1:13) และ​ตอน​นั้น​เปโตร​ก็​ไม่​ได้​บอก​ว่า​เขา​แปลง​ร่าง​มา​เป็น​มนุษย์—2​ปต 1:13-15; ดู 1​คร 15:35-38, 42-44; 1​ยน 3:2 ด้วย

พวก​เรา​ได้​เห็น​ความ​สง่า​งาม​ของ​ท่าน: ตอน​ที่​พระ​เยซู​มี​ชีวิต​อยู่​และ​ทำ​งาน​รับใช้ ยอห์น​กับ​อัครสาวก​คน​อื่น​ ๆ ​ได้​เห็น​ความ​สง่า​งาม​หรือ​สง่า​ราศี​ของ​พระ​เยซู​ซึ่ง​เป็น​ผู้​เดียว​ที่​สามารถ​แสดง​คุณลักษณะ​ของ​พระ​ยะโฮวา​ได้​อย่าง​สมบูรณ์​แบบ นอก​จาก​นั้น อัครสาวก​ยอห์น ยากอบ และ​เปโตร​ก็​ได้​เห็น​การ​เปลี่ยน​รูป​กาย​ของ​พระ​เยซู​ด้วย​ตา​ตัว​เอง (มธ 17:1-9; มก 9:1-9; ลก 9:28-36) ดัง​นั้น ใน​ข้อ​นี้​ยอห์น​อาจ​ไม่​ได้​แค่​คิด​ถึง​การ​ที่​พระ​เยซู​แสดง​คุณลักษณะ​ของ​พระเจ้า​เท่า​นั้น แต่​ยัง​คิด​ถึง​นิมิต​การ​เปลี่ยน​รูป​กาย​ของ​พระ​เยซู​ที่​เกิด​ขึ้น​เมื่อ 60 กว่า​ปี​ที่​แล้ว เหตุ​การณ์​นั้น​ทำ​ให้​อัครสาวก​เปโตร​ประทับใจ​ไม่​รู้​ลืม​เหมือน​กัน และ​ตอน​ที่​เปโตร​เขียน​จดหมาย​ของ​เขา​ประมาณ 30 ปี​ก่อน​ที่​ยอห์น​จะ​เขียน​หนังสือ​ข่าว​ดี เปโตร​ก็​พูด​ถึง​นิมิต​การ​เปลี่ยน​รูป​กาย​ของ​พระ​เยซู​ว่า​เป็น​สิ่ง​หนึ่ง​ที่​ทำ​ให้​มั่น​ใจ​ใน “คำ​พยากรณ์”—2ปต 1:17-19

ลูก​คน​เดียว: คำ​กรีก มอนอเกะเนส ที่​แปล​ว่า “คน​เดียว” ใน​ข้อ​นี้​มี​ความ​หมาย​ว่า “มี​เพียง​หนึ่ง​เดียว, ไม่​มี​ใคร​เหมือน” คัมภีร์​ไบเบิล​ใช้​คำ​นี้​กับ​ทั้ง​ลูก​ชาย​และ​ลูก​สาว (ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ลก 7:12; 8:42; 9:38) ใน​หนังสือ​ที่​อัครสาวก​ยอห์น​เขียน มี​การ​ใช้​คำ​นี้​กับ​พระ​เยซู​เท่า​นั้น (ยน 3:16, 18; 1ยน 4:9) แต่​ไม่​เคย​ใช้​กับ​ท่าน​ตอน​ที่​เป็น​มนุษย์ แทน​ที่​จะ​เป็น​อย่าง​นั้น ยอห์น​ใช้​คำ​นี้​เมื่อ​พูด​ถึง​พระ​เยซู​ก่อน​ที่​ท่าน​จะ​มา​เกิด​เป็น​มนุษย์ ตอน​ที่​ท่าน​เป็น​ลอกอส​หรือ​โฆษก​ที่ “อยู่​กับ​พระเจ้า​ใน​ตอน​เริ่ม​ต้น” คือ “ก่อน​จะ​มี​โลก​นี้” ด้วย​ซ้ำ (ยน 1:1, 2; 17:5, 24) แม้​ทูตสวรรค์​อื่น​ ๆ ​ถูก​เรียก​ว่า “ลูก​ ๆ ​ของ​พระเจ้า​เที่ยง​แท้” หรือ “ลูก​ของ​พระเจ้า” (ปฐก 6:2, 4; โยบ 1:6; 2:1; 38:4-7) แต่​พระ​เยซู​เท่า​นั้น​ที่​ถูก​เรียก​ว่า “ลูก​คน​เดียว” เพราะ​ท่าน​เป็น​ลูก​คน​แรก​ของ​พระ​ยะโฮวา​และ​เป็น​ผู้​เดียว​ที่​พระเจ้า​สร้าง​เอง​โดย​ตรง พระ​ยะโฮวา​สร้าง​ทูตสวรรค์​ทั้ง​หมด​โดย​ทาง ​พระ​เยซู​ลูก​คน​แรก​ของ​พระองค์ (คส 1:15, 16) สรุป​คือ คำ​ว่า มอนอเกะเนส หมาย​ถึง​การ​ที่​พระ​เยซู “ไม่​เหมือน​ใคร” และ​ท่าน​เป็น​ลูก​คน​เดียว​ที่​พระเจ้า​สร้าง​โดย​ตรง—1​ยน 5:18

พระเจ้า​พอ​ใจ: หรือ “ได้​รับ​ความ​กรุณา​ที่​ยิ่ง​ใหญ่​จาก​พระเจ้า” คำ​กรีก ฆาริส มี​มาก​กว่า 150 ครั้ง​ใน​พระ​คัมภีร์​คริสเตียน​ภาค​ภาษา​กรีก และ​มี​ความ​หมาย​หลาย​อย่าง​ขึ้น​อยู่​กับ​ท้อง​เรื่อง ใน​ท้อง​เรื่อง​ที่​พูด​ถึง​ความ​กรุณา​ที่​ยิ่ง​ใหญ่​ซึ่ง​พระเจ้า​แสดง​ต่อ​มนุษย์ คำ​นี้​หมาย​ถึง​ของ​ขวัญ​ที่​พระเจ้า​ให้​อย่าง​ใจ​กว้าง​โดย​ไม่​หวัง​สิ่ง​ตอบ​แทน ซึ่ง​แสดง​ว่า​พระองค์​มี​น้ำใจ​เอื้อเฟื้อ​และ​มี​ความ​กรุณา​ต่อ​มนุษย์​อย่าง​ล้น​เหลือ นี่​เป็น​การ​ให้​ที่​เกิด​จาก​ความ​เอื้อเฟื้อ​ของ​ผู้​ให้​ล้วน​ ๆ ​ไม่​ใช่​การ​ให้​เพื่อ​ตอบ​แทน​บุญคุณ​หรือ​ตอบ​แทน​ความ​ดี​ของ​ผู้​รับ (รม 4:4; 11:6) บาง​ครั้ง​คำ​นี้​ไม่​ได้​เน้น​ว่า​ผู้​รับ​ไม่​คู่​ควร​จะ​ได้​รับ​ความ​กรุณา​นั้น เพราะ​พระ​เยซู​ก็​ได้​รับ​ความ​กรุณา​แบบ​นี้​จาก​พระเจ้า​ด้วย ใน​ท้อง​เรื่อง​ที่​เกี่ยว​กับ​พระ​เยซู จึง​มี​การ​แปล​คำ​นี้​อย่าง​เหมาะ​สม​ว่า “พระเจ้า​พอ​ใจ​มาก” อย่าง​ที่​เห็น​ใน​ข้อ​นี้ หรือ​แปล​ว่า “ชื่น​ชอบ” (ลก 2:40, 52) ใน​ท้อง​เรื่อง​อื่น​ ๆ คำ​กรีก​นี้​ยัง​แปล​ได้​อีก​ว่า “ชอบ, ชื่น​ชอบ, พอ​ใจ, เงิน​ที่​พวก​คุณ​มี​น้ำใจ​บริจาค, ของ​บริจาค”—ลก 1:30; กจ 2:47; 7:46; 1​คร 16:3; 2​คร 8:19

เป็น​ผู้​ที่​พระเจ้า​พอ​ใจ​มาก และ​ท่าน​สอน​ความ​จริง: “โฆษก” หรือ​พระ​เยซู​คริสต์​เป็น​ผู้​ที่​พระเจ้า​พอ​ใจ​มาก​และ​พูด​ความ​จริง​เสมอ แต่​ท้อง​เรื่อง​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​ข้อ​ความ​นี้​มี​ความ​หมาย​กว้าง​กว่า​นั้น พระ​ยะโฮวา​เลือก​ลูก​ชาย​ของ​พระองค์​โดย​เฉพาะ​เพื่อ​จะ​อธิบาย​หรือ​แสดง​ให้​คน​อื่น​เห็น​ความ​กรุณา​ที่​ยิ่ง​ใหญ่​ของ​พระเจ้า​และ​ความ​จริง​ของ​พระองค์​อย่าง​ชัดเจน (ยน 1:16, 17) พระ​เยซู​ได้​แสดง​คุณลักษณะ 2 อย่าง​นี้​ของ​พระเจ้า​อย่าง​เต็ม​ที่​จน​ท่าน​สามารถ​บอก​ได้​ว่า “คน​ที่​ได้​เห็น​ผม​ก็​ได้​เห็น​พระเจ้า​ผู้​เป็น​พ่อ​ด้วย” (ยน 14:9) พระ​เยซู​เป็น​ผู้​ที่​พระเจ้า​ใช้​เพื่อ​แสดง​ความ​กรุณา​ที่​ยิ่ง​ใหญ่​และ​ให้​ความ​จริง​กับ​ทุก​คน​ที่​เต็ม​ใจ​ตอบรับ

ท่าน​ที่​มา​ที​หลัง​ผม: ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา​เกิด​ก่อน​พระ​เยซู​ประมาณ 6 เดือน​และ​เริ่ม​งาน​รับใช้​ก่อน​ท่าน จึง​พูด​ได้​ว่า​พระ​เยซู “มา​ที​หลัง” ยอห์น (ลก 1:24, 26; 3:1-20) แต่​พระ​เยซู​ทำ​งาน​ที่​ยิ่ง​ใหญ่​กว่า​ยอห์น​มาก ท่าน​จึง​ยิ่ง​ใหญ่​กว่า​ยอห์น​หรือ​เหนือ​กว่า​เขา​ใน​ทุก​ ๆ ​ด้าน ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา​ยอม​รับ​ว่า​พระ​เยซู​เคย​มี​ชีวิต​ก่อน​มา​เป็น​มนุษย์ เขา​บอก​ว่า​ท่าน​มี​ชีวิต​อยู่​ก่อน​ผม

ความ​กรุณา . . . อย่าง​ล้น​เหลือ: หรือ “ความ​กรุณา​ที่​ยิ่ง​ใหญ่​ซ้อน​ความ​กรุณา​ที่​ยิ่ง​ใหญ่” คำ​ว่า “กรุณา” มา​จาก​คำ​กรีก ฆาริส ใน​ท้อง​เรื่อง​นี้​หมาย​ถึง​สิ่ง​ที่​พระเจ้า​ให้​อย่าง​ใจ​กว้าง ซึ่ง​แสดง​ว่า​พระองค์​มี​น้ำใจ​เอื้อเฟื้อ​และ​มี​ความ​กรุณา​ต่อ​มนุษย์​อย่าง​ล้น​เหลือ นี่​เป็น​การ​ให้​ที่​เกิด​จาก​ความ​เอื้อเฟื้อ​ของ​ผู้​ให้​ล้วน​ ๆ ​ไม่​ใช่​การ​ให้​เพื่อ​ตอบ​แทน​บุญคุณ​หรือ​ตอบ​แทน​ความ​ดี​ของ​ผู้​รับ (ดู​ส่วน​อธิบาย​ศัพท์​คำ​ว่า “ความ​กรุณา​ที่​ยิ่ง​ใหญ่”) การ​ใช้​คำ​ว่า ฆาริส ซ้ำ 2 ครั้ง ร่วม​กับ​คำ​บุพบท อานทิ (ที่​แปล​ว่า “ซ้อน”) แสดง​ให้​เห็น​ว่า​ความ​กรุณา​ที่​ยิ่ง​ใหญ่​นี้​มี​อย่าง​ล้น​เหลือ​และ​มี​ต่อ​เนื่อง​ไม่​ขาด​สาย ซึ่ง​อาจ​แปล​ได้​ว่า “ความ​กรุณา​ที่​ยิ่ง​ใหญ่​ซึ่ง​ได้​รับ​อย่าง​ต่อ​เนื่อง [หรือ “อย่าง​สม่ำเสมอ”]”

เป็น​ผู้​ที่​พระเจ้า​พอ​ใจ​มาก และ​ท่าน​สอน​ความ​จริง: “โฆษก” หรือ​พระ​เยซู​คริสต์​เป็น​ผู้​ที่​พระเจ้า​พอ​ใจ​มาก​และ​พูด​ความ​จริง​เสมอ แต่​ท้อง​เรื่อง​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​ข้อ​ความ​นี้​มี​ความ​หมาย​กว้าง​กว่า​นั้น พระ​ยะโฮวา​เลือก​ลูก​ชาย​ของ​พระองค์​โดย​เฉพาะ​เพื่อ​จะ​อธิบาย​หรือ​แสดง​ให้​คน​อื่น​เห็น​ความ​กรุณา​ที่​ยิ่ง​ใหญ่​ของ​พระเจ้า​และ​ความ​จริง​ของ​พระองค์​อย่าง​ชัดเจน (ยน 1:16, 17) พระ​เยซู​ได้​แสดง​คุณลักษณะ 2 อย่าง​นี้​ของ​พระเจ้า​อย่าง​เต็ม​ที่​จน​ท่าน​สามารถ​บอก​ได้​ว่า “คน​ที่​ได้​เห็น​ผม​ก็​ได้​เห็น​พระเจ้า​ผู้​เป็น​พ่อ​ด้วย” (ยน 14:9) พระ​เยซู​เป็น​ผู้​ที่​พระเจ้า​ใช้​เพื่อ​แสดง​ความ​กรุณา​ที่​ยิ่ง​ใหญ่​และ​ให้​ความ​จริง​กับ​ทุก​คน​ที่​เต็ม​ใจ​ตอบรับ

กฎหมาย . . . ความ​กรุณา​ที่​ยิ่ง​ใหญ่​และ​ความ​จริง: ใน​พระ​คัมภีร์​คริสเตียน​ภาค​ภาษา​กรีก​มัก​แสดง​ให้​เห็น​ความ​แตกต่าง​ระหว่าง​กฎหมาย​ที่​พระเจ้า​ให้​โมเสส​กับ “ความ​กรุณา​ที่​ยิ่ง​ใหญ่” (รม 3:21-24; 5:20, 21; 6:14; กท 2:21; 5:4; ฮบ 10:28, 29) กฎหมาย​ของ​โมเสส​เป็น​เหมือน “พี่​เลี้ยง​ที่​พา​เรา​ไป​หา​พระ​คริสต์” และ​ใน​กฎหมาย​นั้น​มี​เงา​หรือ​ภาพ​พยากรณ์​ซึ่ง​จะ​เกิด​ขึ้น​จริง​โดย​ทาง​พระ​เยซู (กท 3:23-25; คส 2:16, 17; ฮบ 10:1) นอก​จาก​นั้น กฎหมาย​ทำ​ให้​มนุษย์ “รู้​ชัด​ว่า​เขา​มี​บาป” (รม 3:20) การ​มี​ความ​รู้​ที่​ถูก​ต้อง​แบบ​นั้น​ทำ​ให้​มนุษย์​ยอม​รับ​ว่า “ค่า​จ้าง​ที่​บาป​จ่าย​คือ​ความ​ตาย” และ “ทุก​คน​ที่​ทำ​ผิด​และ​ไม่​เชื่อ​ฟัง​ต้อง​ถูก​ลง​โทษ​ตาม​ความ​ยุติธรรม” (รม 6:23; ฮบ 2:2) ใน​ข้อ​นี้ ยอห์น​เปรียบ​เทียบ​ให้​เห็น​ความ​แตกต่าง​ระหว่าง “กฎหมาย” กับ “ความ​กรุณา​ที่​ยิ่ง​ใหญ่​และ​ความ​จริง” ที่​ได้​รับ​ผ่าน​ทาง​พระ​เยซู​คริสต์ พระ​เยซู​ทำ​ให้​สิ่ง​ที่​กฎหมาย​บอก​ไว้​ล่วง​หน้า​เป็น​จริง ซึ่ง​รวม​ทั้ง​การ​ถวาย​เครื่อง​บูชา​เพื่อ​การ​อภัยโทษ​และ​การ​ไถ่​บาป (ลนต 4:20, 26) นอก​จาก​นั้น ท่าน​ยัง​ทำ​ให้​รู้​ว่า​พระเจ้า​จะ​แสดง “ความ​กรุณา​ที่​ยิ่ง​ใหญ่” (คำ​กรีก ฆา​ริส) ต่อ​มนุษย์​ผิด​บาป​โดย​ให้​ลูก​ชาย​ของ​พระองค์​มา​เป็น​เครื่อง​บูชา​ไถ่​บาป (คส 1:14; 1ยน 4:10; ดู​ส่วน​อธิบาย​ศัพท์​คำ​ว่า “ความ​กรุณา​ที่​ยิ่ง​ใหญ่”) พระ​เยซู​ยัง​เปิด​เผย “ความ​จริง” เรื่อง​ใหม่​ซึ่ง​ก็​คือ​เครื่อง​บูชา​ที่​เป็น​ชีวิต​ของ​ท่าน​จะ​ทำ​ให้​มนุษย์​เป็น​อิสระ​จาก​บาป​และ​ความ​ตาย—ยน 8:32; ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ยน 1:14

อยู่​เคียง​ข้าง​พระเจ้า​ผู้​เป็น​พ่อ: แปล​ตรง​ตัว​ว่า “อยู่​ใน​อก​ของ​พ่อ” สำนวน​นี้​หมาย​ถึง​การ​ได้​รับ​ความ​โปรดปราน​เป็น​พิเศษ​และ​มี​ความ​ใกล้​ชิด​สนิทสนม​กัน ภาพ​เปรียบ​เทียบ​นี้​มา​จาก​ธรรมเนียม​การ​นั่ง​เอน​ตัว​ที่​โต๊ะ​อาหาร การ​นั่ง​แบบ​นี้​จะ​ทำ​ให้​แขก​บาง​คน​เอน​ตัว​อยู่​ที่​อก​ของ​เพื่อน​สนิท (ยน 13:23-25) ข้อ​ความ​นี้​ทำ​ให้​รู้​ว่า​พระ​เยซู​เป็น​เพื่อน​สนิท​ที่​สุด​ของ​พระ​ยะโฮวา ท่าน​จึง​เป็น​คน​ที่​สามารถ​อธิบาย​เรื่อง​พระองค์​ได้​อย่าง​ละเอียด​และ​ครบ​ถ้วน​ที่​สุด—มธ 11:27

เอลียาห์: ชื่อ​ภาษา​ฮีบรู แปล​ว่า “พระเจ้า​ของ​ผม​คือ​พระ​ยะโฮวา”

เอลียาห์: ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ มธ 11:14

ผู้​พยากรณ์: คือ​ผู้​พยากรณ์​ที่​ผู้​คน​รอ​มา​นาน​ซึ่ง​เป็น​คน​ที่​โมเสส​บอก​ล่วง​หน้า​ไว้—ฉธบ 18:18, 19; ยน 1:25-27; 6:14; 7:40; กจ 3:19-26

พระ​ยะโฮวา: ข้อ​ความ​นี้​ยก​มา​จาก อสย 40:3 ซึ่ง​ใน​ต้น​ฉบับ​ภาษา​ฮีบรู​มี​ชื่อ​ของ​พระเจ้า​เขียน​ด้วย​อักษร​ฮีบรู 4 ตัว (ตรง​กับ​เสียง​อักษร​ไทย ยฮวฮ) (ดูภาค​ผนวก ก​5) ผู้​เขียน​หนังสือ​ข่าว​ดี​ของ​มัทธิว มาระโก และ​ลูกา​เชื่อม​โยง​คำ​พยากรณ์​นี้​กับ​สิ่ง​ที่​ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา​ทำ และ​ใน​หนังสือ​ข่าว​ดี​ที่​ยอห์น​เขียน ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา​ได้​พูด​ไว้​ว่า​คำ​พยากรณ์​นี้​หมาย​ถึง​ตัว​เขา​เอง ยอห์น​จะ​ทำ​ทาง​ของ​พระ​ยะโฮวา​ให้​ตรง​ใน​แง่​ที่​ว่า​เขา​มา​ก่อน​พระ​เยซู​ซึ่ง​เป็น​ตัว​แทน ​ของ​พระ​ยะโฮวา​พ่อ​ของ​ท่าน และ​มา​ใน​นาม​พ่อ​ของ​ท่าน—ยน 5:43; 8:29

ให้​บัพติศมา: หรือ “จุ่ม” คำ​กรีก บาพทิโศ มี​ความ​หมาย​ว่า “จุ่ม, จุ่ม​ทั้ง​ตัว” ข้อ​อื่น​ ๆ ​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล​ก็​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​การ​บัพติศมา​คือ​การ​จุ่ม​ตัว​มิด​ใน​น้ำ ครั้ง​หนึ่ง​ยอห์น​ให้​บัพติศมา​ที่​หุบเขา​จอร์แดน​ใกล้​กับ​สาลิม “เพราะ​ที่​นั่น​มี​น้ำ​มาก” (ยน 3:23) ตอน​ที่​ฟีลิป​ให้​บัพติศมา​ข้าราชการ​ชาว​เอธิโอเปีย พวก​เขา​ทั้ง​สอง​คน​ก็ “ลง​ไป​ใน​น้ำ” (กจ 8:38) ฉบับ​เซปตัวจินต์ ก็​ใช้​คำ​กรีก​เดียว​กัน​นี้​ที่ 2​พก 5:14 เมื่อ​พูด​ถึง​นาอามาน​ตอน​ที่​เขา “จุ่ม​ตัว​ใน​แม่น้ำ​จอร์แดน 7 ครั้ง”

รอง​เท้า: การ​ถอด​และ​ถือ​รอง​เท้า​ให้​คน​อื่น หรือ​การ​แก้​สาย​รัด​รอง​เท้า​ให้​เขา (มธ 3:11; มก 1:7; ลก 3:16) ถือ​เป็น​งาน​ที่​ต่ำต้อย​ซึ่ง​มัก​จะ​เป็น​หน้า​ที่​ของ​ทาส

เบธานี: สำเนา​พระ​คัมภีร์​บาง​ฉบับ​ใช้​คำ​ว่า “เบธบารา” แทน​คำ​ว่า “เบธานี” และ​มี​การ​ใช้​คำ​นี้​ใน​ฉบับ​แปล​บาง​ฉบับ แต่​สำเนา​ที่​น่า​เชื่อถือ​มาก​ที่​สุด​ใช้​คำ​ว่า “เบธานี”

เบธานี​ซึ่ง​อยู่​อีก​ฝั่ง​หนึ่ง​ของ​แม่น้ำ​จอร์แดน: คือ​ฝั่ง​ตะวัน​ออก​ของ​แม่น้ำ​จอร์แดน พระ​คัมภีร์​คริสเตียน​ภาค​ภาษา​กรีก​พูด​ถึง​เมือง​นี้​แค่​ครั้ง​เดียว ซึ่ง​เป็น​คน​ละ​เมือง​กับ​เบธานี​ที่​อยู่​ใกล้​กรุง​เยรูซาเล็ม (มธ 21:17; มก 11:1; ลก 19:29; ยน 11:1) ไม่​มี​ใคร​รู้​ว่า​เมือง​เบธานี​ที่​อยู่​ทาง​ฝั่ง​ตะวัน​ออก​ของ​แม่น้ำ​จอร์แดน​อยู่​ที่​ไหน​จริง​ ๆ บาง​คน​บอก​ว่า​น่า​จะ​เป็น​ที่​ที่​เชื่อ​กัน​ว่า​พระ​เยซู​รับ​บัพติศมา​ซึ่ง​อยู่​ตรง​ข้าม​กับ​เมือง​เยรีโค แต่​บันทึก​ใน ยน 1:29, 35, 43; 2:1 อาจ​ทำ​ให้​คิด​ถึง​สถาน​ที่​ที่​ใกล้​กับ​เมือง​คานา​ใน​แคว้น​กาลิลี​มาก​กว่า ดัง​นั้น ที่​ตั้ง​เมือง​เบธานี​ที่​เป็น​ไป​ได้​มาก​ที่​สุด​ก็​คือ​ทาง​ใต้​ของ​ทะเลสาบ​กาลิลี แต่​เป็น​ไป​ไม่​ได้​ที่​จะ​ระบุ​สถาน​ที่​ที่​แน่นอน—ดูภาค​ผนวก ข​10

ลูก​แกะ​ของ​พระเจ้า: หลัง​จาก​พระ​เยซู​รับ​บัพติศมา​และ​ถูก​มาร​ซาตาน​ล่อ​ใจ​แล้ว ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา​แนะ​นำ​ให้​ทุก​คน​รู้​ว่า​ท่าน​เป็น “ลูก​แกะ​ของ​พระเจ้า” นอก​จาก​ข้อ​นี้​และ ยน 1:36 ก็​ไม่​มี​ที่​อื่น​ที่​เรียก​พระ​เยซู​อย่าง​นี้ (ดูภาค​ผนวก ก​7) การ​เปรียบ​พระ​เยซู​เป็น​ลูก​แกะ​ถือ​ว่า​เหมาะ​สม เพราะ​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล​ตลอด​ทั้ง​เล่ม แกะ​ถูก​ใช้​เป็น​เครื่อง​บูชา​ที่​แสดง​ว่า​คน​ถวาย​สำนึก​ว่า​เขา​มี​บาป​และ​ต้องการ​มี​ความ​สัมพันธ์​ที่​ดี​กับ​พระเจ้า ซึ่ง​เป็น​ภาพ​ล่วง​หน้า​ถึง​เครื่อง​บูชา​ที่​พระ​เยซู​ถวาย​โดย​สละ​ชีวิต​มนุษย์​สมบูรณ์​แบบ​ของ​ท่าน​เพื่อ​มนุษย์​ทุก​คน คำ​ว่า “ลูก​แกะ​ของ​พระเจ้า” อาจ​ทำ​ให้​นึก​ถึง​บันทึก​หลาย​ตอน​ใน​พระ​คัมภีร์​ที่​ได้​รับ​การ​ดล​ใจ เนื่อง​จาก​ยอห์น​คุ้น​เคย​กับ​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​เป็น​อย่าง​ดี เมื่อ​เขา​พูด​ถึง​ลูก​แกะ​ของ​พระเจ้า เขา​อาจ​นึก​ถึง​หลาย​เหตุ​การณ์ เช่น แกะ​ตัว​ผู้​ที่​อับราฮัม​ถวาย​เป็น​เครื่อง​บูชา​แทน​อิสอัค​ลูก​ชาย​ของ​เขา (ปฐก 22:13) หรือ​ลูก​แกะ​ปัสกา​ที่​ถูก​ฆ่า​ใน​อียิปต์​เพื่อ​ช่วย​ชาว​อิสราเอล​ให้​พ้น​จาก​การ​เป็น​ทาส (อพย 12:1-13) หรือ​ลูก​แกะ​ตัว​ผู้​ที่​ถูก​ถวาย​บน​แท่น​บูชา​ของ​พระเจ้า​ใน​กรุง​เยรูซาเล็ม​ทั้ง​ตอน​เช้า​และ​ตอน​เย็น​ของ​ทุก​วัน (อพย 29:38-42) นอก​จาก​นั้น ยอห์น​อาจ​จะ​คิด​ถึง​คำ​พยากรณ์​ของ​อิสยาห์​ที่​ว่า คน​ที่​พระ​ยะโฮวา​เรียก​ว่า “ผู้​รับใช้​ของ​เรา” จะ “ถูก​พา​ไป​เหมือน​แกะ​ที่​ถูก​พา​ไป​ฆ่า” (อสย 52:13; 53:5, 7, 11) และ​ตอน​ที่​อัครสาวก​เปาโล​เขียน​จดหมาย​ฉบับ​แรก​ไป​หา​พี่​น้อง​ใน​เมือง​โครินธ์ เขา​เรียก​พระ​เยซู​ว่า “ลูก​แกะ​ปัสกา​ของ​เรา” (1​คร 5:7) อัครสาวก​เปโตร​ก็​พูด​ถึง “เลือด​ที่​มี​ค่า​มาก​ของ​พระ​คริสต์​ซึ่ง​เป็น​เหมือน​เลือด​ของ​ลูก​แกะ​ที่​ไม่​มี​ตำหนิ​และ​ด่าง​พร้อย” (1​ปต 1:19) นอก​จาก​นั้น มี​มาก​กว่า 25 ครั้ง​ใน​หนังสือ​วิวรณ์​ที่​เรียก​พระ​เยซู​หลัง​จาก​ท่าน​กลับ​ไป​สวรรค์​ว่า “ลูก​แกะ​ของ​พระเจ้า”—ตัว​อย่าง​อื่น​ ๆ ​อยู่​ที่ วว 5:8; 6:1; 7:9; 12:11; 13:8; 14:1; 15:3; 17:14; 19:7; 21:9; 22:1

โลก: คำ​กรีก คอสม็อส ที่​ใช้​ใน​วรรณกรรม​กรีก​ทั่ว​ไป​รวม​ทั้ง​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล​มัก​เกี่ยว​ข้อง​กับ​มนุษย์ ใน​ท้อง​เรื่อง​นี้​และ​ที่ ยน 3:16 คำ​ว่า คอสม็อส หมาย​ถึง​มนุษย์​ทุก​คน​ใน​โลก​ซึ่ง​ใน​ข้อ​นี้​บอก​ว่า​เป็น​คน​บาป​เพราะ​ได้​รับ​บาป​มา​จาก​อาดัม

เหมือน​นก​เขา: นก​เขา​ถูก​ใช้​ใน​การ​นมัสการ​และ​ยัง​มี​ความ​หมาย​เชิง​สัญลักษณ์​ด้วย มี​การ​ใช้​นก​เขา​เป็น​เครื่อง​บูชา (มก 11:15; ยน 2:14-16) นก​เขา​เป็น​สัญลักษณ์​ของ​ความ​บริสุทธิ์ ไม่​มี​พิษ​มี​ภัย (มธ 10:16) นก​เขา​ที่​โนอาห์​ปล่อย​ออก​ไป​คาบ​ใบ​มะกอก​กลับ​มา​ที่​เรือ ทำ​ให้​รู้​ว่า​น้ำ​กำลัง​ลด​ลง (ปฐก 8:11) และ​เวลา​ของ​การ​หยุด​พัก​และ​ความ​สงบ​สุข​ใกล้​เข้า​มา​แล้ว (ปฐก 5:29) ดัง​นั้น ตอน​ที่​พระ​เยซู​รับ​บัพติศมา พระ​ยะโฮวา​อาจ​ใช้​นก​เขา​เพื่อ​ทำ​ให้​นึก​ถึง​บทบาท​ของ​พระ​เยซู​ลูก​ที่​บริสุทธิ์​และ​ไม่​มี​บาป​ของ​พระองค์ ซึ่ง​เป็น​เมสสิยาห์​ที่​จะ​สละ​ชีวิต​เพื่อ​มนุษย์​และ​ทำ​ให้​มนุษย์​ได้​หยุด​พัก​และ​มี​ความ​สงบ​สุข​ตอน​ที่​ท่าน​ปกครอง​เป็น​กษัตริย์ พลัง​ของ​พระเจ้า​ที่​ลง​มา​บน​พระ​เยซู​ตอน​ที่​ท่าน​รับ​บัพติศมา​อาจ​ดู​เหมือน​นก​เขา​กระพือ​ปีก​อยู่​ใกล้​ที่​เกาะ

อาดัม​เป็น​ลูก​ของ​พระเจ้า: ข้อ​ความ​นี้​พา​เรา​ย้อน​ไป​จน​ถึง​ต้น​กำเนิด​ของ​มนุษย์ และ​สอดคล้อง​กับ​เรื่อง​ราว​ใน​ปฐมกาล​ที่​บอก​ว่า​มนุษย์​คน​แรก​ถูก​สร้าง​โดย​พระเจ้า​และ​มี​ลักษณะ​คล้าย​พระเจ้า (ปฐก 1:26, 27; 2:7) ข้อ​ความ​นี้​ยัง​ทำ​ให้​เข้าใจ​ข้อ​คัมภีร์​อื่น​ด้วย เช่น รม 5:12; 8:20, 21; และ 1คร 15:22, 45

ลูก​ของ​พระเจ้า: สำนวน​นี้​มัก​ใช้​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล​เพื่อ​หมาย​ถึง​พระ​เยซู​คริสต์ (ยน 1:49; 3:16-18; 5:25; 10:36; 11:4) แต่​เนื่อง​จาก​พระเจ้า​ไม่​ใช่​มนุษย์ พระองค์​ไม่​ได้​มี​ภรรยา​จริง​ ๆ สำนวน​นี้​จึง​เป็น​ภาพ​เปรียบ​เทียบเท่า​นั้น เห็น​ได้​ชัด​ว่า​มี​การ​ใช้​ภาพ​เปรียบ​เทียบ​แบบ​นี้​เพื่อ​ช่วย​ผู้​อ่าน​ให้​เข้าใจ​ความ​สัมพันธ์​ระหว่าง​พระเจ้า​กับ​พระ​เยซู​ว่า​เป็น​เหมือน​พ่อ​กับ​ลูก นอก​จาก​นั้น ยัง​เป็น​การ​เน้น​ด้วย​ว่า​พระ​ยะโฮวา​เป็น​ผู้​สร้าง​หรือ​ให้​ชีวิต​กับ​พระ​เยซู อาดัม​มนุษย์​คน​แรก​ก็​ถูก​เรียก​ว่า “ลูก​ของ​พระเจ้า”—ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ลก 3:38

หนึ่ง​ใน​สอง​คน​นั้น: มี​การ​พูด​ถึง​สาวก 2 คน​นี้​ที่ ยน 1:35 สาวก​ที่​ไม่​ได้​บอก​ชื่อ​น่า​จะ​เป็น​อัครสาวก​ยอห์น​ลูก​ของ​เศเบดี​ซึ่ง​เป็น​ผู้​เขียน​หนังสือ​ข่าว​ดี​นี้ (มธ 4:21; มก 1:19; ลก 5:10) ที่​สรุป​ได้​อย่าง​นี้​เป็น​เพราะ​ผู้​เขียน​ไม่​เคย​พูด​ชื่อ​ของ​ตัว​เอง และ​ไม่​เคย​พูด​ถึง​ชื่อ​ของ​อัครสาวก​ยอห์น และ​ทุก​ครั้ง​ที่​เขา​พูด​ถึง “ยอห์น” ก็​จะ​หมาย​ถึง​ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา

ยอห์น . . . สาวก 2 คน: หนึ่ง​ใน​สาวก 2 คน​นี้​ของ​ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา​ก็​คือ “อันดรูว์​ที่​เป็น​พี่​น้อง​กับ​ซีโมน​เปโตร”—ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ยน 1:40

ยอห์น . . . สาวก 2 คน: หนึ่ง​ใน​สาวก 2 คน​นี้​ของ​ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา​ก็​คือ “อันดรูว์​ที่​เป็น​พี่​น้อง​กับ​ซีโมน​เปโตร”—ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ยน 1:40

หนึ่ง​ใน​สอง​คน​นั้น: มี​การ​พูด​ถึง​สาวก 2 คน​นี้​ที่ ยน 1:35 สาวก​ที่​ไม่​ได้​บอก​ชื่อ​น่า​จะ​เป็น​อัครสาวก​ยอห์น​ลูก​ของ​เศเบดี​ซึ่ง​เป็น​ผู้​เขียน​หนังสือ​ข่าว​ดี​นี้ (มธ 4:21; มก 1:19; ลก 5:10) ที่​สรุป​ได้​อย่าง​นี้​เป็น​เพราะ​ผู้​เขียน​ไม่​เคย​พูด​ชื่อ​ของ​ตัว​เอง และ​ไม่​เคย​พูด​ถึง​ชื่อ​ของ​อัครสาวก​ยอห์น และ​ทุก​ครั้ง​ที่​เขา​พูด​ถึง “ยอห์น” ก็​จะ​หมาย​ถึง​ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา

สาวก​ทั้ง​สอง​คน . . . ตาม​พระ​เยซู​ไป: คำ​พูด​นี้​แสดง​ว่า​สาวก​กลุ่ม​แรก​ของ​พระ​เยซู​เคย​เป็น​สาวก​ของ​ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา​มา​ก่อน—ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ยน 1:35, 40

ราว​ ๆ 9 โมง​เช้า: แปล​ตรง​ตัว​ว่า “ชั่วโมง​ที่ 3” ใน​สมัย​ศตวรรษ​แรก ชาว​ยิว​นับ​ช่วง​กลางวัน​ยาว 12 ชั่วโมง​เริ่ม​ตั้ง​แต่​ดวง​อาทิตย์​ขึ้น​ตอน​ประมาณ 6 โมง​เช้า (ยน 11:9) ดัง​นั้น ชั่วโมง​ที่ 3 จึง​หมาย​ถึง​ประมาณ 9 โมง​เช้า ชั่วโมง​ที่ 6 หมาย​ถึง​ประมาณ​เที่ยง และ​ชั่วโมง​ที่ 9 หมาย​ถึง​ประมาณ​บ่าย 3 โมง เนื่อง​จาก​ผู้​คน​สมัย​นั้น​ไม่​มี​เครื่อง​บอก​เวลา​ที่​แน่นอน บันทึก​ใน​พระ​คัมภีร์​จึง​มัก​บอก​เวลา​แบบ​ประมาณ—ยน 1:39; 4:6; 19:14; กจ 10:3, 9

ประมาณ 4 โมง​เย็น: แปล​ตรง​ตัว​ว่า “ชั่วโมง​ที่ 10”—ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ มธ 20:3

หนึ่ง​ใน​สอง​คน​นั้น: มี​การ​พูด​ถึง​สาวก 2 คน​นี้​ที่ ยน 1:35 สาวก​ที่​ไม่​ได้​บอก​ชื่อ​น่า​จะ​เป็น​อัครสาวก​ยอห์น​ลูก​ของ​เศเบดี​ซึ่ง​เป็น​ผู้​เขียน​หนังสือ​ข่าว​ดี​นี้ (มธ 4:21; มก 1:19; ลก 5:10) ที่​สรุป​ได้​อย่าง​นี้​เป็น​เพราะ​ผู้​เขียน​ไม่​เคย​พูด​ชื่อ​ของ​ตัว​เอง และ​ไม่​เคย​พูด​ถึง​ชื่อ​ของ​อัครสาวก​ยอห์น และ​ทุก​ครั้ง​ที่​เขา​พูด​ถึง “ยอห์น” ก็​จะ​หมาย​ถึง​ยอห์น​ผู้​ให้​บัพติศมา

คริสต์: เป็น​ตำแหน่ง​ซึ่ง​มา​จาก​คำ​กรีก ฆะริสท็อส และ​มี​ความ​หมาย​เดียว​กับ​คำ​ว่า “เมสสิยาห์” (มา​จาก​คำ​ฮีบรู มาชีอัค) ทั้ง​สอง​คำ​แปล​ว่า “ผู้​ถูก​เจิม” ใน​สมัย​คัมภีร์​ไบเบิล​มี​การ​แต่ง​ตั้ง​ผู้​ปกครอง​หรือ​ผู้​นำ​โดย​การ​เจิม​ด้วย​น้ำมัน

เมสสิยาห์: หรือ “ผู้​ถูก​เจิม” คำ​กรีก เม็สซิอาส (ทับ​ศัพท์​มา​จาก​คำ​ฮีบรู มาชีอัค) มี​แค่ 2 ครั้ง​ใน​พระ​คัมภีร์​คริสเตียน​ภาค​ภาษา​กรีก (ดู ยน 4:25) ตำแหน่ง มาชีอัค มา​จาก​คำ​กริยา​ฮีบรู มาชัค ที่​แปล​ว่า “ทา​หรือ​ป้าย (ด้วย​ของ​เหลว)” และ “เจิม” (อพย 29:2, 7) ใน​สมัย​คัมภีร์​ไบเบิล มี​ธรรมเนียม​การ​เจิม​เพื่อ​แต่ง​ตั้ง​ปุโรหิต พวก​ผู้​นำ และ​ผู้​พยากรณ์​ด้วย​น้ำมัน (ลนต 4:3; 1​ซม 16:3, 12, 13; 1​พก 19:16) ใน​ข้อ​นี้​ที่ ยน 1:41 ตำแหน่ง “เมสสิยาห์” มี​คำ​อธิบาย​ต่อ​ท้าย​ว่า ซึ่ง​แปล​ว่า “คริสต์” พระ​คัมภีร์​คริสเตียน​ภาค​ภาษา​กรีก​พูด​ถึง​ตำแหน่ง “คริสต์” หรือ “พระ​คริสต์” (ภาษา​กรีก ฆะริสท็อส) มาก​กว่า 500 ครั้ง และ​ตำแหน่ง​นี้​ตรง​กับ​คำ​ฮีบรู “เมสสิยาห์” ซึ่ง​ทั้ง 2 คำ​แปล​ว่า “ผู้​ถูก​เจิม”—ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ มธ 1:1

ซีโมน เขา​มี​อีก​ชื่อ​หนึ่ง​ว่า​เปโตร: ซีโมน​เป็น​ชื่อ​จริง ส่วน​เปโตร (เพะตร็อส) เป็น​ชื่อ​ภาษา​กรีก​ที่​แปล​มา​จาก​ชื่อ​เคฟาส ใน​ภาษา​เซมิติก เคฟาส​เป็น​ชื่อ​ที่​พระ​เยซู​ตั้ง​ให้​เขา—มก 3:16; ยน 1:42; ดู​ข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา มธ 10:2

ซีโมน​หรือ​ที่​เรียก​กัน​ว่า​เปโตร: พระ​คัมภีร์​เรียก​เปโตร​ด้วย​ชื่อ​ที่​ต่าง​กัน 5 ชื่อ คือ (1) “ซีเมโอน” ซึ่ง​เป็น​ชื่อ​กรีก​ที่​ทับ​ศัพท์​มา​จาก​ชื่อ​ฮีบรู (สิเมโอน) (2) “ซีโมน” ซึ่ง​เป็น​ภาษา​กรีก (ทั้ง​ซีเมโอน​และ​ซีโมน​มา​จาก​คำ​กริยา​ฮีบรู​ที่​แปล​ว่า “ได้​ยิน, ฟัง”) (3) “เปโตร” (ชื่อ​กรีก​ที่​แปล​ว่า “หิน​ก้อน​หนึ่ง” และ​เขา​เป็น​คน​เดียว​ใน​พระ​คัมภีร์​ที่​ใช้​ชื่อ​นี้) (4) “เคฟาส” ชื่อ​ภาษา​เซมิติก​ที่​มี​ความ​หมาย​ตรง​กับ​ชื่อ​เปโตร (อาจ​เกี่ยว​ข้อง​กับ​คำ​ฮีบรู เคฟิม [หิน] ที่​ใช้​ใน โยบ 30:6; ยรม 4:29) และ (5) “ซีโมน​เปโตร” ซึ่ง​เป็น​การ​รวม 2 ชื่อ​เข้า​ด้วย​กัน—กจ 15:14; ยน 1:42; มธ 16:16

ลูก​โยนาห์: หรือ “บาร์โยนาห์” ชื่อ​ฮีบรู​หลาย​ชื่อ​จะ​มี​คำ​ฮีบรู เบน หรือ​คำ​อาราเมอิก บาร์ ที่​แปล​ว่า “ลูก​ชาย” แล้ว​ตาม​ด้วย​ชื่อ​ของ​พ่อ การ​มี​คำ​อาราเมอิก​ผสม​อยู่​ใน​หลาย​ชื่อ เช่น บาร์โธโลมิว บาร์ทิเมอัส บาร์นาบัส และ​บาร์เยซู เป็น​หลักฐาน​ว่า​ภาษา​อาราเมอิก​มี​อิทธิพล​ต่อ​ภาษา​ฮีบรู​ที่​พูด​กัน​ใน​สมัย​พระ​เยซู

คุณ​คือ​ซีโมน: พระ​คัมภีร์​เรียก​ซีโมน​ด้วย​ชื่อ​ที่​ต่าง​กัน 5 ชื่อ (ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ มธ 4:18; 10:2) ใน​เหตุ​การณ์​นี้ พระ​เยซู​เจอ​กับ​ซีโมน​เป็น​ครั้ง​แรก​และ​ตั้ง​ชื่อ​ภาษา​เซมิติก​ให้​เขา​ว่า​เคฟาส ที่​อาจ​มา​จาก​คำ​ฮีบรู เคฟิม (หิน) ซึ่ง​ใช้​ใน โยบ 30:6 และ ยรม 4:29 แต่​ใน​ข้อ​นี้​ยอห์น​ซึ่ง​เป็น​ผู้​เขียน​หนังสือ​ข่าว​ดี​อธิบาย​เพิ่ม​เติม​ด้วย​ว่า​คำ​นี้​แปล​เป็น​ภาษา​กรีก​ว่า​เปโตร​ซึ่ง​มี​ความ​หมาย​ว่า “หิน​ก้อน​หนึ่ง” ซีโมน​คน​นี้​เป็น​คน​เดียว​ใน​พระ​คัมภีร์​ที่​มี​ชื่อ​ภาษา​เซมิติก​ว่า​เคฟาส​และ​ชื่อ​ภาษา​กรีก​ว่า​เปโตร พระ​เยซู​ซึ่ง​รู้​ว่า​นาธานาเอล​เป็น​คน​ที่ “ไม่​มี​เล่ห์​เหลี่ยม​อะไร” (ยน 1:47; 2:25) ก็​รู้​ด้วย​ว่า​เปโตร​เป็น​คน​แบบ​ไหน เปโตร​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​เขา​มี​คุณลักษณะ​ที่​ดี​หลาย​อย่าง​เหมือน​ก้อน​หิน โดย​เฉพาะ​หลัง​จาก​ที่​พระ​เยซู​ตาย​และ​ฟื้น​ขึ้น​จาก​ตาย​แล้ว คุณลักษณะ​ที่​เป็น​เหมือน​ก้อน​หิน​ของ​เขา​ได้​ช่วย​ประชาคม​ให้​เข้มแข็ง​และ​มั่นคง—ลก 22:32; กจ 1:15, 16; 15:6-11

ยอห์น: สำเนา​พระ​คัมภีร์​เก่าแก่​บาง​ฉบับ​บอก​ว่า​พ่อ​ของ​อัครสาวก​เปโตร​ชื่อ​ยอห์น ส่วน​สำเนา​พระ​คัมภีร์​เก่าแก่​อื่น​ ๆ ​บอก​ว่า​เขา​ชื่อ​โยนา ใน มธ 16:17 พระ​เยซู​เรียก​เปโตร​ว่า “ซีโมน​ลูก​โยนาห์” (ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ มธ 16:17) ผู้​เชี่ยวชาญ​บาง​คน​บอก​ว่า​ชื่อ​ยอห์น​กับ​โยนา(ห์) ซึ่ง​เป็น​ชื่อ​กรีก​อาจ​มา​จาก​ชื่อ​ฮีบรู​เดียว​กัน​แต่​สะกด​ต่าง​กัน

นาธานาเอล: มา​จาก​ชื่อ​ภาษา​ฮีบรู​ที่​แปล​ว่า “พระเจ้า​ให้” อาจ​เป็น​อีก​ชื่อ​หนึ่ง​ของ​บาร์โธโลมิว​ซึ่ง​เป็น​หนึ่ง​ใน​อัครสาวก 12 คน​ของ​พระ​เยซู (มธ 10:3) บาร์โธโลมิว​ที่​แปล​ว่า “ลูก​ชาย​ของ​โทลไม” เป็น​ชื่อ​ที่​ตั้ง​ขึ้น​ตาม​ชื่อ​พ่อ​ของ​เขา ไม่​ใช่​เรื่อง​แปลก​ที่​นาธานาเอล​จะ​มี​อีก​ชื่อ​หนึ่ง​ว่า​บาร์โธโลมิว​หรือ​ลูก​ชาย​ของ​โทลไม เพราะ​คน​อื่น​ก็​มี​ชื่อ​แบบ​นี้ เช่น บาร์ทิเมอัส ที่​แปล​ว่า​ลูก​ชาย​ของ​ทิเมอัส (มก 10:46) ตอน​ที่​มัทธิว มาระโก และ​ลูกา​พูด​ถึง​บาร์โธโลมิว พวก​เขา​มัก​จะ​พูด​ชื่อ​บาร์โธโลมิว​คู่​กับ​ฟีลิป ซึ่ง​คล้าย​กับ​ยอห์น​ตอน​ที่​พูด​ถึง​นาธานาเอล เขา​มัก​จะ​พูด​ชื่อ​นาธานาเอล​คู่​กับ​ฟีลิป นี่​เป็น​อีก​หลักฐาน​หนึ่ง​ที่​แสดง​ว่า​บาร์โธโลมิว​กับ​นาธานาเอล​เป็น​คน​เดียว​กัน (มธ 10:3; มก 3:18; ลก 6:14; ยน 1:45, 46) ไม่​แปลก​ที่​ใคร​คน​หนึ่ง​จะ​มี​ชื่อ​มาก​กว่า 1 ชื่อ—ยน 1:42

กฎหมาย​ของ​โมเสส​และ​หนังสือ​ของ​พวก​ผู้​พยากรณ์: ข้อ​ความ​นี้​ทำ​ให้​คิด​ถึง​สำนวน “กฎหมาย​ของ​โมเสส​และ​คำ​สอน​ของ​ผู้​พยากรณ์” และ​สำนวน​อื่น​ที่​คล้าย​กัน​ซึ่ง​มี​การ​ใช้​หลาย​ครั้ง​ใน​หนังสือ​ข่าว​ดี​ทั้ง 4 เล่ม (มธ 5:17; 7:12; 11:13; 22:40; ลก 16:16) คำ​ว่า “กฎหมาย​ของ​โมเสส” หมาย​ถึง​หนังสือ​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล​ตั้ง​แต่​ปฐมกาล​จน​ถึง​เฉลย​ธรรมบัญญัติ และ “คำ​สอน​ของ​พวก​ผู้​พยากรณ์” หมาย​ถึง​หนังสือ​ต่าง​ ๆ ​ของ​ผู้​พยากรณ์​ใน​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู แต่​เมื่อ​มี​การ​ใช้​สอง​คำ​นี้​ด้วย​กัน​ก็​อาจ​หมาย​ถึง​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​ทั้ง​หมด เห็น​ได้​ชัด​ว่า​สาวก​ที่​พูด​ถึง​ใน​ข้อ​นี้​ชอบ​ศึกษา​ค้นคว้า​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู และ​ฟีลิป​อาจ​คิด​ถึง​ข้อ​ความ​ใน​พระ​คัมภีร์ เช่น ปฐก 3:15; 22:18; 49:10; ฉธบ 18:18; อสย 9:6, 7; 11:1; ยรม 33:15; อสค 34:23; มคา 5:2; ศคย 6:12; และ มลค 3:1 ที่​จริง​ข้อ​คัมภีร์​หลาย​ข้อ​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​ทั้ง​หมด​เป็น​พยาน​ยืน​ยัน​เกี่ยว​กับ​พระ​เยซู—ลก 24:27, 44; ยน 5:39, 40; กจ 10:43; วว 19:10

จะ​มี​อะไร​ดี​ ๆมา​จาก​นาซาเร็ธ​ได้​หรือ?: หลาย​คน​เข้าใจ​ว่า​คำ​พูด​ของ​นาธานาเอล​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​นาซาเร็ธ​เป็น​หมู่​บ้าน​เล็ก​ ๆ ​ที่​ไม่​สำคัญ​อะไร แม้​แต่​คน​ใน​แคว้น​กาลิลี​ก็​ดูถูก (ยน 21:2) พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​ไม่​ได้​พูด​ถึง​นาซาเร็ธ​เลย​และ​โยเซฟุส​ก็​ไม่​เคย​พูด​ถึง​เมือง​นี้ แต่ ยชว 19:12 และ​โยเซฟุส​กลับ​พูด​ถึง​เมือง​ยาเฟีย​ที่​อยู่​ใกล้​ ๆ (อยู่​ห่าง​จาก​นาซาเร็ธ​ไป​ทาง​ทิศ​ตะวัน​ตก​เฉียง​ใต้​ไม่​ถึง 3 กม.) แต่​ที่​จริง​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​และ​โยเซฟุส​ก็​ไม่​ได้​พูด​ถึง​ทุก​เมือง​ใน​แคว้น​กาลิลี และ​น่า​สังเกต​ว่า​ทุก​ครั้ง​ที่​หนังสือ​ข่าว​ดี​พูด​ถึง​นาซาเร็ธ​จะ​ใช้​คำ​ว่า “เมือง” (คำ​กรีก พอลิส) ซึ่ง​เป็น​คำ​ที่​ปกติ​แล้ว​หมาย​ถึง​แหล่ง​ชุมชน​ที่​ใหญ่​กว่า​หมู่​บ้าน (มธ 2:23; ลก 1:26; 2:4, 39; 4:29) นาซาเร็ธ​ตั้ง​อยู่​ใน​แอ่ง​ภูเขา​ที่​ล้อม​รอบ​ด้วย​เนิน​เขา​ซึ่ง​มอง​ลง​ไป​จะ​เห็น​ที่​ราบ​เอสดราเอโลน (ยิสเรเอล) พื้น​ที่​บริเวณ​นี้​มี​คน​อาศัย​อยู่​จำนวน​มาก มี​เมือง​มาก​มาย​ตั้ง​อยู่​ใกล้​ ๆ ​และ​อยู่​ใกล้​กับ​เส้น​ทาง​การ​ค้า ผู้​คน​ใน​เมือง​นาซาเร็ธ​จึง​ได้​รับ​ข้อมูล​ข่าวสาร​เกี่ยว​กับ​สภาพ​สังคม ศาสนา และ​การ​เมือง​ใน​เวลา​นั้น​ได้​ไม่​ยาก (เทียบ​กับ ลก 4:23) เมือง​นาซาเร็ธ​มี​ที่​ประชุม​ของ​ชาว​ยิว​ด้วย (ลก 4:16) ดัง​นั้น ดู​เหมือน​ว่า​เมือง​นี้​ไม่​ใช่​หมู่​บ้าน​เล็ก​ ๆ ​ที่​ไม่​สำคัญ การ​ที่​นาธานาเอล​พูด​แบบ​นั้น​อาจ​เป็น​เพราะ​เขา​แปลก​ใจ​ที่​ฟีลิป​คิด​ว่า​คน​ที่​มา​จาก​เมือง​นาซาเร็ธ​ใน​แคว้น​กาลิลี​นี้​จะ​เป็น​เมสสิยาห์​ที่​สัญญา​ไว้ เพราะ​พระ​คัมภีร์​บอก​ล่วง​หน้า​ว่า​เมสสิยาห์​จะ​มา​จาก​เบธเลเฮม​ใน​ยูดาห์—มคา 5:2; ยน 7:42, 52

คน​อิสราเอล​แท้​ ๆที่​ไม่​มี​เล่ห์​เหลี่ยม​อะไร: ชาว​อิสราเอล​ทุก​คน​เป็น​ลูก​หลาน​ของ​ยาโคบ แต่​ใน​ข้อ​นี้​พระ​เยซู​ไม่​ได้​พูด​ถึง​เชื้อชาติ​ของ​นาธานาเอล​เท่า​นั้น ชื่อ​อิสราเอล​หมาย​ถึง “ผู้​ที่​ต่อ​สู้​กับ (ผู้​ที่​ไม่​ยอม​แพ้) พระเจ้า” และ​ยาโคบ​ได้​ชื่อ​นี้​หลัง​จาก​ที่​เขา​ปล้ำ​สู้​กับ​ทูตสวรรค์​เพื่อ​จะ​ได้​พร ยาโคบ​ไม่​เหมือน​กับ​เอซาว​พี่​ชาย​ของ​เขา ยาโคบ​เห็น​ค่า​สิ่ง​ศักดิ์สิทธิ์​และ​เต็ม​ใจ​ทำ​สุด​กำลัง​เพื่อ​จะ​ได้​รับ​ความ​โปรดปราน​จาก​พระเจ้า (ปฐก 32:22-28; ฮบ 12:16) คำ​พูด​ของ​พระ​เยซู​จึง​หมาย​ความ​ว่า​นาธานาเอล​ไม่​ได้​เป็น​แค่​คน​อิสราเอล​เท่า​นั้น แต่​เขา​มี​ความ​เชื่อ​และ​ทำ​ตาม​ความ​ต้องการ​ของ​พระเจ้า​ด้วย​ความ​ภักดี​แบบ​เดียว​กับ​ยาโคบ​บรรพบุรุษ​ของ​เขา คำ​พูด​ของ​พระ​เยซู (ซึ่ง​อาจ​มา​จาก สด 32:2) ยัง​แสดง​ให้​เห็น​ด้วย​ว่า​นาธานาเอล​ไม่​ใช่​คน​เสแสร้ง​หรือ​มี​เล่ห์​เหลี่ยม

คุณ​จะ​ได้​เห็น​สิ่ง​ที่​ยิ่ง​ใหญ่​กว่า​นี้​อีก: หลัง​จาก​นั้น​ไม่​นาน นาธานาเอล​ก็​ได้​เห็น​คำ​พูด​นี้​เป็น​จริง ใน​งาน​เลี้ยง​แต่งงาน​ที่​เมือง​คานา​ใน​แคว้น​กาลิลี​ซึ่ง​เป็น​บ้าน​เกิด​ของ​นาธานาเอล เขา​ได้​เห็น​พระ​เยซู​ทำ​การ​อัศจรรย์​ครั้ง​แรก​โดย​เปลี่ยน​น้ำ​เป็น​เหล้า​องุ่น​ชั้น​ดี (ยน 2:1-11; 21:2) นาธานาเอล​กับ​สาวก​คน​อื่น​ ๆ ​อีก 11 คน​ซึ่ง​ตอน​หลัง​ได้​รับ​การ​แต่ง​ตั้ง​ให้​เป็น​อัครสาวก​ได้​เห็น​พระ​เยซู​รักษา​คน​ป่วย ขับ​ไล่​ปีศาจ และ​ถึง​กับ​ปลุก​คน​ตาย​ให้​ฟื้น นอก​จาก​จะ​เห็น​สิ่ง​เหล่า​นี้​แล้ว นาธานาเอล​กับ​อัครสาวก​คน​อื่น​ ๆ ​ยัง​ได้​รับ​อำนาจ​ให้​ทำ​การ​อัศจรรย์​และ​ประกาศ​ว่า “รัฐบาล​สวรรค์​มา​ใกล้​แล้ว”—มธ 10:1-8

ลูก​มนุษย์: มี​การ​ใช้​คำ​นี้​ประมาณ 80 ครั้ง​ใน​หนังสือ​ข่าว​ดี​ทั้ง 4 เล่ม พระ​เยซู​ใช้​คำ​นี้​เมื่อ​พูด​ถึง​ตัว​ท่าน​เอง ดู​เหมือน​ท่าน​ใช้​คำ​นี้​เพื่อ​เน้น​ว่า​ท่าน​เป็น​มนุษย์​จริง​ ๆ ที่​เกิด​จาก​ผู้​หญิง​และ​มี​ค่า​เท่า​เทียม​กับ​อาดัม ท่าน​จึง​สามารถ​ไถ่​มนุษย์​จาก​บาป​และ​ความ​ตาย​ได้ (รม 5:12, 14, 15) คำ​นี้​ยัง​ทำ​ให้​รู้​ว่า​พระ​เยซู​เป็น​เมสสิยาห์​หรือ​พระ​คริสต์​ด้วย—ดนล 7:13, 14; ดู​ส่วน​อธิบาย​ศัพท์

ฟ้า​สวรรค์: คำ​กรีก​ที่​ใช้​ใน​ข้อ​นี้​อาจ​หมาย​ถึง​ท้องฟ้า​จริง​ ๆ ​หรือ​หมาย​ถึง​สวรรค์​ก็​ได้

ทูต​ของ​พระเจ้า: หรือ “ผู้​ส่ง​ข่าว” คำ​กรีก อางเกะลอส และ​คำ​ฮีบรู มาลาค ที่​มี​ความ​หมาย​เหมือน​กัน​มี​อยู่​เกือบ 400 ครั้ง​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล ทั้ง 2 คำ​มี​ความ​หมาย​หลัก​ว่า “ผู้​ส่ง​ข่าว” ใน​ท้อง​เรื่อง​ที่​พูด​ถึง​ผู้​ส่ง​ข่าว​ของ​พระเจ้า​ที่​มา​จาก​สวรรค์ ก็​จะ​มี​การ​แปล​ว่า “ทูตสวรรค์” หรือ “ทูต​ของ​พระเจ้า” แต่​ใน​ท้อง​เรื่อง​ที่​พูด​ถึง​มนุษย์ ก็​จะ​แปล​ว่า “ผู้​ส่ง​ข่าว” ใน​ท้อง​เรื่อง​ส่วน​ใหญ่​จะ​บอก​ชัดเจน​ว่า​กำลัง​พูด​ถึง​ทูตสวรรค์​หรือ​มนุษย์ แต่​ถ้า​ไม่​ชัดเจน​ก็​มัก​จะ​มี​การ​ใช้​เชิงอรรถ​เพื่อ​แสดง​ให้​เห็น​การ​แปล​อีก​แบบ​หนึ่ง (ปฐก 16:7; 32:3; โยบ 4:18, เชิงอรรถ; 33:23, เชิงอรรถ; ปญจ 5:6, เชิงอรรถ; อสย 63:9, เชิงอรรถ; มธ 1:20; ยก 2:25; วว 22:8; ดูส่วน​อธิบาย​ศัพท์) ใน​หนังสือ​วิวรณ์​ที่​มี​ภาพ​เชิง​สัญลักษณ์​มาก​มาย บาง​ครั้ง​คำ​ว่า​ทูต​หรือ​ทูตสวรรค์​อาจ​หมาย​ถึง​มนุษย์​ก็​ได้—วว 2:1, 8, 12, 18; 3:1, 7, 14

เพื่อ​มา​หา ‘ลูก​มนุษย์’: หรือ “เพื่อ​มา​รับใช้ ‘ลูก​มนุษย์’” เมื่อ​พระ​เยซู​พูด​เกี่ยว​กับ​ทูต​ของ​พระเจ้า​ขึ้น​ ๆลง​ ๆ ท่าน​อาจ​คิด​ถึง​ตอน​ที่​ยาโคบ​ได้​เห็น​นิมิต​ที่​มี​ทูตสวรรค์​ของ​พระเจ้า​ขึ้น​ลง​บันได (ปฐก 28:12) ซึ่ง​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​พวก​ทูตสวรรค์​ทำ​หน้า​ที่​สำคัญ​ใน​การ​รับใช้​พระ​ยะโฮวา​และ​มนุษย์​ที่​พระองค์​ยอม​รับ คำ​พูด​ของ​พระ​เยซู​จึง​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​คน​ที่​ติด​ตาม​ท่าน​ก็​มี​ทูตสวรรค์​คอย​รับใช้ และ​เขา​จะ​ได้​รับ​การ​ดู​แล​และ​การ​ชี้​นำ​ใน​แบบ​พิเศษ​จาก​พระเจ้า​ผู้​เป็น​พ่อ

ลูก​มนุษย์: ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ มธ 8:20

วีดีโอและรูปภาพ

วีดีโอ​บท​นำ​ของ​หนังสือ​ยอห์น
วีดีโอ​บท​นำ​ของ​หนังสือ​ยอห์น
การ​แปล​ยอห์น 1:1 ใน​ภาษา​คอปติก​แบบ​ซา​ฮิ​ดิก
การ​แปล​ยอห์น 1:1 ใน​ภาษา​คอปติก​แบบ​ซา​ฮิ​ดิก

สำเนา​พระ​คัมภีร์​ที่​เห็น​ใน​ภาพ​นี้ (มี​อายุ​ตั้ง​แต่​ประมาณ​ปี ค.ศ. 600) มี​ข้อ​ความ​จาก​หนังสือ​ข่าว​ดี​ของ​ยอห์น​ที่​แปล​เป็น​ภาษา​คอปติก​แบบ​ซา​ฮิ​ดิก ภาษา​คอปติก​เป็น​ภาษา​ที่​พูด​กัน​ใน​อียิปต์​ใน​ช่วง​หลาย​ร้อย​ปี​หลัง​จาก​ที่​พระ​เยซู​ทำ​งาน​รับใช้​บน​โลก ภาษา​คอปติก​เป็น​หนึ่ง​ใน​ภาษา​แรก​ ๆ ​ที่​ใช้​ใน​การ​แปล​พระ​คัมภีร์​คริสเตียน​ภาค​ภาษา​กรีก​เช่น​เดียว​กับ​ภาษา​ซีรี​แอก​และ​ภาษา​ละติน พอ​ถึง​ศตวรรษ​ที่ 3 ก็​มี​ฉบับ​แปล​ภาษา​คอปติก​แล้ว ดัง​นั้น ฉบับ​แปล​นี้​จึง​ช่วย​เรา​ให้​เข้าใจ​ข้อ​ความ​ภาษา​กรีก​ที่​ใช้​กัน​ใน​ตอน​นั้น นี่​เป็น​ประโยชน์​เป็น​พิเศษ​เพราะ​มี​ความ​ขัด​แย้ง​กัน​อย่าง​มาก​เกี่ยว​กับ​การ​แปล​ส่วน​หลัง​ของ ยน 1:1 ซึ่ง​หลาย​ฉบับ​แปล​ข้อ​นี้​ว่า “โฆษก​อยู่​กับ​พระเจ้า​และ​ท่าน​เป็น​พระเจ้า” ภาษา​คอปติก​แบบ​ซา​ฮิ​ดิก​ไม่​เหมือน​กับ​ภาษา​กรีก​คีนี ภาษา​ละติน​และ​ภาษา​ซีรี​แอก เพราะ​ภาษา​คอปติก​แบบ​ซา​ฮิ​ดิก​มี​คำนำ​หน้า​นาม​ที่​ไม่​เฉพาะ​เจาะจง (เหมือน​กับ “a” และ “an” ใน​ภาษา​อังกฤษ) อย่าง​ที่​เห็น​ใน​ภาพ​นี้ คำ​ว่า “พระเจ้า” ที่​มี​อยู่ 2 ครั้ง​ใน​ข้อ​นี้​แตกต่าง​กัน​เล็ก​น้อย ครั้ง​แรก (หมาย​เลข 1) มี​คำนำ​หน้า​นาม​ที่​เฉพาะ​เจาะจง (ใน​วง​กลม​สี​แดง) และ​ครั้ง​ที่​สอง (หมาย​เลข 2) มี​คำนำ​หน้า​นาม​ที่​ไม่​เฉพาะ​เจาะจง (ใน​วง​กลม​สี​แดง) ดัง​นั้น เมื่อ​แปล​ข้อ​ความ​นี้​ตรง​ตัว​เป็น​ภาษา​อังกฤษ​ก็​จะ​แปล​ได้​ว่า “And the Word was with the God, and the Word was a god.” นี่​สนับสนุน​การ​แปล​ข้อ​นี้​ตาม​พระ​คัมภีร์​ฉบับ​แปล​โลก​ใหม่ ​ภาษา​ไทย​ที่​บอก​ว่า “โฆษก​ผู้​นี้​อยู่​กับ​พระเจ้า​และ​ท่าน​เป็น​พระเจ้า​องค์​หนึ่ง”—ดูข้อมูล​สำหรับ​ศึกษา​ที่ ยน 1:1 สำหรับ​ข้อมูล​เพิ่ม​เติม​เกี่ยว​กับ​การ​แปล​วลี “และ​ท่าน​เป็น​พระเจ้า​องค์​หนึ่ง”

1. “the” (ใน​วง​กลม​สี​แดง) God

2. “a” (ใน​วง​กลม​สี​แดง) god

สำเนา​หนังสือ​ข่าว​ดี​ของ​ยอห์น​จาก​ศตวรรษ​ที่ 2
สำเนา​หนังสือ​ข่าว​ดี​ของ​ยอห์น​จาก​ศตวรรษ​ที่ 2

ที่​เห็น​ใน​ภาพ​นี้​คือ​หน้า​แรก​ของ​สำเนา​พระ​คัมภีร์​ใน​ยุค​แรก​ที่​เรียก​ว่า​พาไพรัส​บอดเมอร์ 2 (P​66) เป็น​สำเนา​ที่​มี​การ​คัด​ลอก​และ​เย็บ​เล่ม​เป็น​โคเดกซ์​ประมาณ​ปี ค.ศ. 200 สำเนา​นี้​มี​ข้อ​ความ​ภาษา​กรีก​ของ​หนังสือ​ข่าว​ดี​ของ​ยอห์น​เกือบ​ครบ​ทั้ง​เล่ม หน้า​แรก​ของ​สำเนา​นี้​เริ่ม​ด้วย​ชื่อ​หนังสือ (ใน​กรอบ​สี​แดง) ที่​เขียน​ว่า อืออางเกะลิออน คาธา อิโออานเนน (“ข่าว​ดี​ที่​เขียน​โดย​ยอห์น”) ดู​เหมือน​ว่า​ไม่​มี​ชื่อ​หนังสือ​อยู่​ใน​ข้อ​ความ​ต้น​ฉบับ​แต่​ถูก​เพิ่ม​เข้า​มา​ภาย​หลัง​โดย​พวก​ผู้​คัด​ลอก อาจ​มี​การ​ใช้​ชื่อ​หนังสือ​ที่​ระบุ​ชื่อ​คน​เขียน​ด้วย​เหตุ​ผล​ที่​ดี​บาง​อย่าง เช่น ทำ​ให้​รู้​ชัด​ว่า​ใคร​เป็น​คน​เขียน

ข่าว​ดี​ของ​ยอห์น—เหตุ​การณ์​สำคัญ​บาง​อย่าง
ข่าว​ดี​ของ​ยอห์น—เหตุ​การณ์​สำคัญ​บาง​อย่าง

เหตุ​การณ์​เรียง​ตาม​ลำดับ​เวลา​เท่า​ที่​เป็น​ไป​ได้

แผนที่​ของ​หนังสือ​ข่าว​ดี​แต่​ละ​เล่ม​ให้​ข้อมูล​ของ​เหตุ​การณ์​แตกต่าง​กัน

1. ใกล้​กับ​เบธานี​ซึ่ง​อยู่​อีก​ฝั่ง​หนึ่ง​ของ​แม่น้ำ​จอร์แดน ยอห์น​เรียก​พระ​เยซู​ว่า “ลูก​แกะ​ของ​พระเจ้า” (ยน 1:29)

2. พระ​เยซู​ทำ​การ​อัศจรรย์​ครั้ง​แรก​ที่​เมือง​คานา​ใน​แคว้น​กาลิลี (ยน 2:3, 7-9, 11)

3. พระ​เยซู​ชำระ​วิหาร​ครั้ง​แรก (ยน 2:13-15)

4. พระ​เยซู​ไป​ที่​เขต​ชนบท​ของ​ยูเดีย สาวก​ของ​ท่าน​ให้​บัพติศมา​ผู้​คน ยอห์น​ให้​บัพติศมา​ที่​อายโนน (ยน 3:22, 23)

5. ที่​บ่อ​น้ำ​ของ​ยาโคบ​ใน​เมือง​สิคาร์ พระ​เยซู​คุย​กับ​ผู้​หญิง​ชาว​สะมาเรีย (ยน 4:4-7, 14, 19, 20)

6. พระ​เยซู​รักษา​ลูก​ชาย​ของ​ข้าราชการ​คน​หนึ่ง​โดย​ไม่​ต้อง​เดิน​ทาง​ไป​หา​เขา ซึ่ง​เป็น​การ​อัศจรรย์​ครั้ง​ที่ 2 ของ​ท่าน​ที่​เมือง​คานา​ใน​แคว้น​กาลิลี (ยน 4:46, 47, 50-54)

7. พระ​เยซู​รักษา​คน​ป่วย​คน​หนึ่ง​ที่​สระ​เบธซาธา​ใน​กรุง​เยรูซาเล็ม (ยน 5:2-5, 8, 9)

8. ที่​ชายฝั่ง​ทาง​ตะวัน​ออก​เฉียง​เหนือ​ของ​ทะเลสาบ​กาลิลี หลัง​จาก​พระ​เยซู​ทำ​การ​อัศจรรย์​เลี้ยง​อาหาร​ผู้​ชาย​ประมาณ 5,000 คน ผู้​คน​ก็​พยายาม​จะ​ตั้ง​ท่าน​ให้​เป็น​กษัตริย์ (มธ 14:19-21; ยน 6:10, 14, 15)

9. ใน​ที่​ประชุม​ของ​ชาว​ยิว​ที่​เมือง​คาเปอร์นาอุม พระ​เยซู​บอก​ว่า​ท่าน​เป็น “อาหาร​ที่​ให้​ชีวิต” หลาย​คน​ไม่​สบาย​ใจ​และ​เลิก​ติด​ตาม​ท่าน (ยน 6:48, 54, 59, 66)

10. ที่​สระ​สิโลอัม พระ​เยซู​รักษา​ผู้​ชาย​ที่​ตา​บอด​ตั้ง​แต่​เกิด (ยน 9:1-3, 6, 7)

11. พวก​ยิว​พยายาม​เอา​หิน​ขว้าง​พระ​เยซู​ตรง​ระเบียง​ทาง​เดิน​ของ​โซโลมอน​ที่​วิหาร (ยน 10:22, 23, 31)

12. ตอน​ที่​พวก​ยิว​พยายาม​จะ​จับ​พระ​เยซู ท่าน​เดิน​ทาง​ข้าม​แม่น้ำ​จอร์แดน​ไป​บริเวณ​ที่​ยอห์น​เคย​ให้​บัพติศมา หลาย​คน​ที่​นั่น​เชื่อ​ใน​ตัว​พระ​เยซู (ยน 10:39-42)

13. พระ​เยซู​ปลุก​ลาซารัส​ใน​เบธานี (ยน 11:38, 39, 43, 44)

14. ตอน​ที่​พวก​ยิว​ใน​กรุง​เยรูซาเล็ม​หา​ทาง​ฆ่า​พระ​เยซู ท่าน​หนี​ไป​ที่​เมือง​เอฟราอิม​ซึ่ง​อยู่​ใกล้​ที่​กันดาร (ยน 11:53, 54)

15. พระ​เยซู​นั่ง​ลามา​ตาม​ถนน​จาก​หมู่​บ้าน​เบธฟายี ท่าน​เข้า​ไป​ใน​กรุง​เยรูซาเล็ม​อย่าง​ผู้​มี​ชัย (มธ 21:1, 7-10; มก 11:1, 7-11; ลก 19:29, 30, 35, 37, 38; ยน 12:12-15)

16. พระ​เยซู​เดิน​ข้าม​หุบเขา​ขิดโรน​ไป​ที่​สวน​เกทเสมนีกับ​พวก​สาวก (มธ 26:30; มก 14:26; ลก 22:39; ยน 18:1)

17. ใน​สวน​เกทเสมนี ยูดาส​ทรยศ​พระ​เยซู และ​ท่าน​ถูก​จับ (มธ 26:47-50; มก 14:43-46; ลก 22:47, 48, 54; ยน 18:2, 3, 12)

18. พระ​เยซู​ถูก​เฆี่ยน​และ​ถูก​เยาะเย้ย​ที่​บ้าน​ผู้​ว่า​ราชการ (มธ 27:26-29; มก 15:15-20; ยน 19:1-3)

19. พระ​เยซู​ถูก​ตรึง​บน​เสา​ทรมาน​ที่​กลโกธา (มธ 27:33-36; มก 15:22-25; ลก 23:33; ยน 19:17, 18)

20. พระ​เยซู​ฟื้น​ขึ้น​จาก​ตาย​และ​ปรากฏ​ตัว​ให้​มารีย์​มักดาลา​เห็น​ใน​สวน​ใกล้​อุโมงค์​ฝัง​ศพ​ของ​ท่าน (มธ 28:1, 5, 6, 8, 9; ยน 20:11, 12, 15-17)

21. บน​ชายฝั่ง​ทะเลสาบ​กาลิลี พระ​เยซู​ปรากฏ​ตัว​กับ​พวก​สาวก เปโตร​ยืน​ยัน​ว่า​เขา​รัก​ท่าน (ยน 21:12-15)

ภาพ​หุบเขา​ยิสเรเอล
ภาพ​หุบเขา​ยิสเรเอล

ภาพ​นี้​ถ่าย​จาก​หน้าผา​แห่ง​หนึ่ง​ใกล้​เมือง​นาซาเร็ธ​โดย​มอง​ไป​ทาง​ใต้ คัมภีร์​ไบเบิล​พูด​ถึง​หุบเขา​ยิสเรเอล​ที่​อุดม​สมบูรณ์​นี้​หลาย​ครั้ง ใน​ภาพ​นี้​จะ​เห็น​ที่​ราบ​หุบเขา​ตั้ง​แต่​ด้าน​ตะวัน​ออก​ไป​จน​ถึง​ตะวัน​ตก (ยชว 17:16; วนฉ 6:33; ฮชย 1:5) ที่​เห็น​เด่น​ชัด​ทาง​ด้าน​ซ้าย​คือ​ภูเขา​โมเรห์​ซึ่ง​มี​เมือง​นาอิน​ตั้ง​อยู่​บน​ไหล่​เขา​ด้าน​หนึ่ง เมือง​นี้​เป็น​เมือง​ที่​พระ​เยซู​ปลุก​ลูก​ชาย​ของ​แม่​ม่าย​ให้​ฟื้น​ขึ้น​จาก​ตาย (วนฉ 7:1; ลก 7:11-15) ตรง​กลาง​ภาพ​จะ​เห็น​ภูเขา​กิลโบอา​อยู่​ไกล ๆ (1ซม 31:1, 8) พระ​เยซู​เติบโต​ขึ้น​ใน​เมือง​นาซาเร็ธ​ซึ่ง​อยู่​ไม่​ไกล​จาก​หุบเขา​ยิสเรเอล​แห่ง​นี้ และ​อาจ​เคย​มา​ที่​นี่​เพื่อ​ดู​สถาน​ที่​สำคัญ​ต่าง ๆ ใน​ประวัติศาสตร์​ของ​อิสราเอล—ลก 2:39, 40